ชื่อเรื่อง | : | สาเหตุของการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
นักวิจัย | : | สุมาลี แกล้วทนงค์ |
คำค้น | : | CAUSES , DIFFERENTIAL ITEM FUNCTIONING |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082547001782 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ ประการแรก เพื่อศึกษาการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้านเพศ ภาษาพูด และเชื้อชาติ ของแบบสอบสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และประการที่สองเพื่อตรวจสอบสาเหตุของการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้านเพศ ภาษาพูด และเชื้อชาติของแบบสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2546 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา พัทลุง ตรัง และสตูล จำนวน 1,320 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น 3 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามเพื่อสำรวจความสนใจในการอ่านของผู้เรียน แบบสอบในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล ด้วยโปรแกรม SIBTEST และตรวจสอบสาเหตุการทำหน้าที่ต่างกันโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมี 3 ฉบับ ประกอบด้วยข้อสอบจำนวน 120 ข้อมีข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันด้านเพศ 9 ข้อ ภาษาพูด 15 ข้อ และเชื้อชาติ 28 ข้อ 2. ข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันด้านเพศของแบบสอบสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเนื้อเรื่องที่สนใจและภาษาที่ใช้ในแบบสอบ โดยมีลักษณะของข้อสอบที่ออกตามความสนใจและมีการใช้ภาษาในแบบสอบที่เป็นสำนวนและคำศัพท์ และข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันด้านเพศของแบบสอบสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีสาเหตุมาจากเนื้อเรื่องที่สนใจและเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรม โดยมีลักษณะของข้อสอบที่มีเนื้อเรื่องที่สนใจและมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมของผู้สอบ 3. ข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันด้านภาษาพูดของแบบสอบสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก เนื้อเรื่องที่สนใจ และภาษาที่ใช้ในแบบสอบโดยมีลักษณะข้อสอบที่ออกตามความสนใจและมีการใช้ภาษาที่เป็นคำศัพท์เฉพาะ เช่น ราชาศัพท์ และข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันด้านภาษาพูดของแบบสอบสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีสาเหตุมาจากเนื้อเรื่องที่สนใจและเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรม โดยมีลักษณะของข้อสอบที่ออกตามความสนใจเช่น ภูมิศาสตร์ และในเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย 4. ข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันในด้านเชื้อชาติของแบบสอบสาระการเรียนรู้ภาษาไทยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเนื้อเรื่องที่สนใจ และภาษาที่ใช้ในแบบสอบ โดยมีลักษณะข้อสอบที่ออกตามความสนใจและมีการใช้คำราชาศัพท์หรือคำศัพท์ยากมาออกข้อสอบ และข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันในเชื้อชาติของแบบสอบสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมมีสาเหตุมาจากเนื้อเรื่องที่สนใจและเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณี |
บรรณานุกรม | : |
สุมาลี แกล้วทนงค์ . (2547). สาเหตุของการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. สุมาลี แกล้วทนงค์ . 2547. "สาเหตุของการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. สุมาลี แกล้วทนงค์ . "สาเหตุของการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2547. Print. สุมาลี แกล้วทนงค์ . สาเหตุของการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2547.
|