ชื่อเรื่อง | : | มาตรการทางกฎหมายในการใช้วิธีการคุมประพฤติแบบเข้ม |
นักวิจัย | : | อรนิตย์ บุณยรัตพันธุ์ |
คำค้น | : | INTERMEDIATE SANCTION , INTENSIVE PROBATION |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082547000044 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงมาตรการทางเลือกแก่ศาล ด้วยวิธีการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดโดยไม่ใช้เรือนจำ ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด โดยเน้นการบังคับใช้กับผู้กระทำผิดคดีอาญาร้ายแรงแต่เป็นผู้ที่ไม่มีนิสัยเป็นอันตรายต่อสังคม มิใช่ผู้ประพฤติผิดติดนิสัยหรือเป็นอาชญากรโดยสันดานไม่สมควรที่ศาลจะลงโทษโดยใช้เรือนจำแก่ผู้กระทำผิด เนื่องจากผู้กระทำผิดกลุ่มนี้ยังพอสามารถแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรมภายนอกเรือนจำได้ อีกทั้งการลงโทษโดยใช้เรือนจำก่อให้เกิดผลเสียหลายประการซ้ำยังเป็นการเพิ่มปริมาณผู้ต้องขังโดยไม่จำเป็นและทำให้เป็นภาระของรัฐที่ต้องแก้ปัญหาต่อไปอีกด้วย ผลการศึกษาพบว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการใช้มาตรการคุมประพฤติแบบเข้มเพื่อเป็นทางเลือกแก่ศาลแทนการลงโทษจำคุก ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของมาตรการลงโทษระดับกลางที่มีลักษณะคาบเกี่ยวระหว่างมาตรการคุมประพฤติแบบปกติและการลงโทษจำคุก โดยศาลเป็นผู้พิจารณาออกคำสั่งภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายประกอบกับความสมัครใจของผู้กระทำผิดในการร้องขอต่อศาลด้วย มาตรการคุมประพฤติแบบเข้มนี้มีกระบวนการสอดส่องดูแลผู้ถูกคุมประพฤติอย่างเข้มงวดและเคร่งครัดมาก โดยเฉพาะเงื่อนไขคุมประพฤติที่ศาลกำหนดเวลาห้ามออกจากเคหะสถานโดยใช้เครื่องมืออิเลคทรอนิกส์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เพิ่มความเข้มงวดและมีประสิทธิภาพมากกว่ามาตรการคุมประพฤติแบบปกติ เพื่อใช้บังคับกับผู้กระทำผิดคดีอาญาร้ายแรงหรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ประเทศอังกฤษยังมีมาตรการป้องกันภยันตรายแก่สังคมด้วยการทำงานร่วมกันแบบพหุภาคีของหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม เช่น ตำรวจ คุมประพฤติและราชทัณฑ์ เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในสังคมว่าผู้กระทำผิดเหล่านั้นจะไม่หวนกลับมากระทำผิดซ้ำอีก มาตรการคุมประพฤติแบบเข้มจึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้บังคับในประเทศไทยตามแนวทางการบังคับใช้และการแก้ไขกฎหมายที่ได้เสนอไว้ เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้แก่ศาลในการพิจารณามาตรการลงโทษโดยไม่ใช้เรือนจำ ทั้งกรณีผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่และผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กหรือเยาวชนให้ได้รับโอกาสกลับตัวเป็นคนดีของสังคมและเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
อรนิตย์ บุณยรัตพันธุ์ . (2547). มาตรการทางกฎหมายในการใช้วิธีการคุมประพฤติแบบเข้ม.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. อรนิตย์ บุณยรัตพันธุ์ . 2547. "มาตรการทางกฎหมายในการใช้วิธีการคุมประพฤติแบบเข้ม".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. อรนิตย์ บุณยรัตพันธุ์ . "มาตรการทางกฎหมายในการใช้วิธีการคุมประพฤติแบบเข้ม."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2547. Print. อรนิตย์ บุณยรัตพันธุ์ . มาตรการทางกฎหมายในการใช้วิธีการคุมประพฤติแบบเข้ม. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2547.
|