ชื่อเรื่อง | : | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความรุนแรงของอาการ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรัง |
นักวิจัย | : | สายรุ้ง บัวระพา |
คำค้น | : | PERSONAL FACTORS , PERCEPTION OF SYMPTOMS SEVERITY , SELF-EFFICACY , SOCIAL SUPPORT , PHYSICALACTIVITY , PATIENTS WITH CHRONIC HEART FAILURE |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082547000697 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความรุนแรงของอาการ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรัง โดยใช้กรอบแนวคิดของโอก้าและคณะ (1996) เป็นกรอบแนวคิดในงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรังที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลพระพุทธบาท โรงพยาบาลลพบุรีโรงพยาบาลบ้านหมี่ โรงพยาบาลอ่างทอง และโรงพยาบาลสิงห์บุรี จำนวน 120 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของอาการ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามกิจกรรมทางกาย ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ .80, .92, .92 และ .70 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้พอยท์ไบซีเรียลค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมทางกายของผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรัง อยู่ในระดับปานกลาง ((X) = 109.65,S.D. = 61.72) 2. การรับรู้สมรรถนะแห่งตน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .373) 3. อายุ และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.335) และ-.200 ตามลำดับ) 4. การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และอายุสามารถร่วมกันทำนายกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรังได้ร้อยละ 19.3 (R('2) = .193) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05โดยสามารถสร้างสมการทำนายกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรังในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z(+,ข)(,กิจกรรมทางกาย) = .298Z(,การรับรู้สมรรถนะแห่งตน) - .244Z(,อายุ) |
บรรณานุกรม | : |
สายรุ้ง บัวระพา . (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความรุนแรงของอาการ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรัง.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. สายรุ้ง บัวระพา . 2547. "ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความรุนแรงของอาการ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรัง".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. สายรุ้ง บัวระพา . "ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความรุนแรงของอาการ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรัง."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2547. Print. สายรุ้ง บัวระพา . ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความรุนแรงของอาการ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรัง. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2547.
|