ชื่อเรื่อง | : | ผลกระทบทางเศรษฐกิจของหัตถอุตสาหกรรมที่มีต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ |
นักวิจัย | : | อังคณา พรหมเกตุ |
คำค้น | : | ECONOMIC IMPACT , HANDYCRAFT INDUSTRIES , CHIANG MAI |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082546000780 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาลักษณะการดำเนินกิจการของหัตถอุตสาหกรรมในจังหวัดเชียงใหม่และความเชื่อมโยงของหัตถอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ อันได้แก่ไม้แกะสลัก เครื่องเขิน เครื่องเงิน เครื่องปั้นดินเผา กระดาษสา และสิ่งทอซึ่งพบว่าหัตถอุตสาหกรรมแต่ละประเภทมีความเชื่อมโยงในการใช้ปัจจัยการผลิตในด้านวัตถุดิบและแรงงานร่วมกันน้อยมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้มีลักษณะเฉพาะในการผลิตและแรงงานที่มีทักษะที่แตกต่างกัน สำหรับความเชื่อมโยงไปข้างหน้าและความเชื่อมโยงไปข้างหลังของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของหัตถอุตสาหกรรมพบว่า แต่ละประเภทมีความเชื่อมโยงไปข้างหลังค่อนข้างสูง เนื่องจากผลผลิตที่ได้จะเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายซึ่งไม่ก่อให้เกิดการผลิตต่อ นอกจากนี้ยังได้พิจารณาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มีต่อพื้นที่เมืองและพื้นที่ชนบทจากการดำเนินกิจการของหัตถอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ ทั้งรายได้ทางตรง ทางอ้อม และรายได้ที่เกิดจากการใช้จ่ายของรายได้ทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านการจ้างแรงงานและการซื้อปัจจัยการผลิต ตลอดจนการใช้จ่ายของคนงาน ชาวเมือง และชาวชนบท เพื่อการบริโภคสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งผลของการใช้จ่ายก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ การศึกษาได้แบ่งพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็น 6 พื้นที่ โดยใช้ที่ตั้งของหัตถอุตสาหกรรมเป็นเกณฑ์ ได้แก่ พื้นที่เมือง และพื้นที่ชนบทของอำเภอที่เป็นแหล่งที่ตั้งของหัตถอุตสาหกรรม อำเภอที่มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอที่เป็นแหล่งที่ตั้งของหัตถอุตสาหกรรม และอำเภอที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอที่เป็นแหล่งที่ตั้งของหัตถอุตสาหกรรม และใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยแบบสอบถาม ทำการสุ่มตัวอย่างโรงงานอุตสาหกรรม คนงาน ชาวเมือง และชาวชนบท การวิเคราะห์ผลกระทบทำโดยใช้ค่า Value Added Ratio จากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต เพื่อหา Income Generatorsซึ่งนำมาคำนวณค่าตัวคูณทวีตามทฤษฎีฐานเศรษฐกิจ ผลการวิจัยชี้ว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจของหัตถอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยการผลิตคือ วัตถุดิบและแรงงานเป็นสำคัญ โดยหัตถอุตสาหกรรมในทุกประเภทจะมีการจ้างแรงงานส่วนใหญ่จากพื้นที่เมืองโดยเฉพาะพื้นที่เมืองที่เป็นแหล่งที่ตั้งของหัตถอุตสาหกรรม สำหรับการซื้อปัจจัยการผลิตอื่นส่วนใหญ่จะเกิดในพื้นที่เมืองและชนบทในจังหวัดเชียงใหม่โดยเฉพาะพื้นที่เมืองและชนบทของอำเภอที่เป็นแหล่งที่ตั้งของหัตถอุตสาหกรรม อำเภอที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอที่เป็นแหล่งที่ตั้งของหัตถอุตสาหกรรม และจังหวัดใกล้เคียง โดยที่การดำเนินกิจการของหัตถอุตสาหกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อให้เกิดรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมในพื้นที่เมืองที่เป็นแหล่งที่ตั้งของหัตถอุตสาหกรรมมากที่สุด ขณะเดียวกันผลกระทบทางเศรษฐกิจของหัตถอุตสาหกรรมก็จะเกิดขึ้นสูงสุดในพื้นที่เมืองที่เป็นแหล่งที่ตั้งของหัตถอุตสาหกรรมเช่นกัน |
บรรณานุกรม | : |
อังคณา พรหมเกตุ . (2546). ผลกระทบทางเศรษฐกิจของหัตถอุตสาหกรรมที่มีต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. อังคณา พรหมเกตุ . 2546. "ผลกระทบทางเศรษฐกิจของหัตถอุตสาหกรรมที่มีต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. อังคณา พรหมเกตุ . "ผลกระทบทางเศรษฐกิจของหัตถอุตสาหกรรมที่มีต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2546. Print. อังคณา พรหมเกตุ . ผลกระทบทางเศรษฐกิจของหัตถอุตสาหกรรมที่มีต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2546.
|