ชื่อเรื่อง | : | การนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า |
นักวิจัย | : | บรรเทิง สุธรรมพร, 2516- |
คำค้น | : | เครื่องหมายการค้า--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ , กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--ละเมิด |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธัชชัย ศุภผลศิริ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9740307515 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/817 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิจัยถึงบทบัญญัติทางกฎหมายในเรื่องการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเครื่องหมายการค้าของไทยโดยข้อมูลที่นำมาเป็นฐานในการศึกษาวิจัยนี้ได้มาจาก บทบัญญัติทางกฎหมาย ตำราทางวิชาการ บทความ เอกสารสัมมนา และคำพิพากษาของศาลต่างๆที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับเรื่องการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าทั้งของไทยและต่างประเทศเป็นสำคัญ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าของไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2543) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าโดยตรงไม่ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการกระทำอันเป็นละเมิด ค่าเสียหายประเภทต่างๆรวมถึงวิธีการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายไว้นั้น มีผลทำให้ศาลและคู่ความในคดีไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพียงพอสำหรับใช้เป็นแนวทางในการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายได้อย่างเหมาะสมกับข้อพิพาทในกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าขึ้น ซึ่งประเด็นเรื่องเดียวกันนี้ของกฎหมายต่างประเทศจะมีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่มีความชัดเจนและสมบูรณ์มากกว่าของไทย ดังนั้น ประเทศไทยจึงอาจศึกษาและนำเอาหลักเกณฑ์ของกฎหมายต่างประเทศดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขกฎหมายของไทยในเรื่องเดียวกันนี้ต่อไปได้ วิทยานิพนธ์นี้มีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2543)โดยควรบัญญัติให้มีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในเรื่อง (ก) การกระทำอันเป็นการละเมิด (ข) ประเภทหรือลักษณะของค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการทำละเมิด (ค) หลักเกณฑ์และวิธีการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในแต่ละประเภท (ง) สิทธิของจำเลยในการนำสืบหักล้าง และ(จ) อำนาจหน้าที่ของศาลในการรับฟังพยานและการพิพากษาคดี |
บรรณานุกรม | : |
บรรเทิง สุธรรมพร, 2516- . (2544). การนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บรรเทิง สุธรรมพร, 2516- . 2544. "การนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บรรเทิง สุธรรมพร, 2516- . "การนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. บรรเทิง สุธรรมพร, 2516- . การนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|