ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการดูแลรักษาภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม |
นักวิจัย | : | ศิริวรรณ อัญญะสิมาพันธ์ |
คำค้น | : | HYPERPHOSPHATEMIA , HEMODIALYSIS , PHOSPHATE BINDERS |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082545001265 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำและพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง และประเมินผลการนำแนวทางดังกล่าวไปทดลองใช้กับผู้ป่วย โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ณ หน่วยไตเทียม กองอายุรกรรม โรงพยาบาลอานันทมหิดล ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนสิงหาคม 2545 แนวทางการดูแลรักษาภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงได้พัฒนาขึ้นจากการศึกษา รวบรวมงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และนำเสนอให้อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตได้ทำการพิจารณาและรับรองก่อนนำไปทดลองใช้กับผู้ป่วยเป็นเวลา 3 เดือน และประเมินผลของการนำแนวทางฯดังกล่าวไปใช้ โดยพิจารณาจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ระดับฟอสเฟตและแคลเซียมในเลือด)ค่าผลคูณระหว่างแคลเซียมและฟอสเฟต (CaxP) และจำนวนครั้งในการเกิดภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงก่อนและหลังการทดลองใช้แนวทางการดูแลรักษาภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง ผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 16 ราย (อายุ 28-71 ปี) หลังการทดลองใช้แนวทางการดูแลรักษาภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง พบว่าระดับฟอสเฟตเฉลี่ยของผู้ป่วยมีค่าลดลงจาก 6.9(+,ฑ)2.1 มก./ดล. เป็น 6.3(+,ฑ)2.2 มก./ดล. ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันเมื่อทำการทดสอบด้วย paired t-test (p=0.105) ผู้ป่วย 3 ราย (ร้อยละ 18.8) มีระดับฟอสเฟตเฉลี่ยในเลือดอยู่ในระหว่าง 4.5-5.5 มก./ดล. ซึ่งเป็นระดับเป้าหมายที่ต้องการทั้งก่อนและหลังการใช้แนวทางฯ ผู้ป่วย 5 ราย (ร้อยละ 31.2) มีระดับฟอสเฟตเฉลี่ยลดลงสู่ระดับเป้าหมาย และมีผู้ป่วย 1 รายที่มีระดับฟอสเฟตเฉลี่ยลดลงอย่างมากจาก 11.1 มก./ดล. เหลือ 7.1 มก./ดล. และผู้ป่วยจำนวน 4 ราย (ร้อยละ 25.0) มีระดับฟอสเฟตเฉลี่ยในเลือดลดลงหลังการใช้แนวทางฯ แต่ยังไม่เข้าสู่ระดับเป้าหมายผู้ป่วยที่เหลือจำนวน 3 ราย (ร้อยละ 18.8) ไม่สามารถควบคุมให้ระดับฟอสเฟตลดลงหลังการใช้แนวทางฯดังกล่าว จำนวนครั้งในการเกิดภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงลดลงเหลือ26 ครั้งจาก 34 ครั้ง แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเมื่อทำการทดสอบด้วย McNemar Chi-square test (p=0.082) ผู้ป่วยมีระดับแคลเซียมเฉลี่ยในเลือดสูงขึ้นจาก9.8(+,ฑ)0.9 มก./ดล. เป็น 10.4(+,ฑ)0.8 มก./ดล. แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติเมื่อทดสอบด้วย paired t-test (p=0.090) ค่าเฉลี่ยของ CaxP ก่อนและหลังการใช้แนวทางฯ เท่ากับ 66.8(+,ฑ)19.4 มก./ดล. และ 63.9(+,ฑ)20.4 มก./ดล. ตามลำดับจำนวนครั้งที่ค่า CaxP มากกว่า 70มก.('2)/ดล.('2) ลดลงจาก 17 ครั้งเหลือ 15 ครั้ง(ร้อยละ 11.8) หลังการใช้แนวทางฯ แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติเมื่อทดสอบด้วยMcNemar Chi-square test (p=0.829) แนวทางการดูแลภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงที่จัดทำขึ้นนี้ต้องการปรับปรุงในรายละเอียดและถ้าได้ทำการศึกษาในขนาดตัวอย่างที่มากขึ้นใช้เวลานานขึ้น และมีการปรับปรุงแก้ไขตามผลการทดลองใช้ ตลอดจนได้มีการจัดทำคู่มือต่าง ๆ ได้แก่ คู่มือการให้คำแนะนำเรื่องอาหาร และคู่มือการใช้วิตามินดีสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยไตเทียมอื่น ๆ ได้ |
บรรณานุกรม | : |
ศิริวรรณ อัญญะสิมาพันธ์ . (2545). แนวทางการดูแลรักษาภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ศิริวรรณ อัญญะสิมาพันธ์ . 2545. "แนวทางการดูแลรักษาภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ศิริวรรณ อัญญะสิมาพันธ์ . "แนวทางการดูแลรักษาภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2545. Print. ศิริวรรณ อัญญะสิมาพันธ์ . แนวทางการดูแลรักษาภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2545.
|