ชื่อเรื่อง | : | การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 :ศึกษาเฉพาะกรณีการปรับโครงสร้างกิจการ |
นักวิจัย | : | เอกอัคร จิตตานนท์ |
คำค้น | : | BUSINESS REORGANIZATION , ASSET MANAGEMENT , NON-PERFORMING ASSETS |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082545001788 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การปรับโครงสร้างกิจการตาม พรก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ได้มีการสร้างมาตรการทางกฎหมายขึ้นเพื่อให้ลูกหนี้สามารถปรับโครงสร้างในการบริหารกิจการและธุรกิจของลูกหนี้ให้ยังคงสถานะกิจการไว้ได้ และสามารถสร้างรายได้นำเงินมาชำระหนี้คืนให้กับ บสท. ได้มาตรการต่างๆ ดังกล่าวเช่น การให้อำนาจแก่ บสท. ในการพิจารณาปรับโครงสร้างกิจการและพิจารณาแผน การแต่งตั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผน และการสร้างข้อจำกัดสิทธิของบุคคลต่างๆ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงแนวคิดและหลักการของกฎหมายปรับโครงสร้างกิจการ รวมไปถึงปัญหาและข้อพิจารณาเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ที่ บสท.นำมาใช้ในการปรับโครงสร้างกิจการตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้การปรับโครงสร้างกิจการมีความเหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลที่เข้าร่วมในการปรับโครงสร้างกิจการได้อย่างแท้จริง จากการศึกษาพบว่ากฎหมายปรับโครงสร้างกิจการเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูฐานะกิจการของลูกหนี้โดยเน้นหลักการในเรื่องความมีประสิทธิภาพและความรวดเร็วเป็นหลักแต่กฎหมายดังกล่าวยังมีหลักเกณฑ์บางประการที่ไม่ชัดเจนและขาดความเหมาะสม เช่นการไม่มีบทบัญญัติให้ความคุ้มครองเจ้าหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างกิจการ การจำกัดสิทธิเจ้าหนี้ในการพิจารณาแผน การจำกัดอำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจ การขาดหลักเกณฑ์ในการเข้าร่วมกระบวนการของเจ้าหนี้ภาษี การกำหนดหลักเกณฑ์การหลุดพ้นความรับผิดของผู้ค้ำประกันได้โดยง่าย และการใช้อำนาจของ บสท. ในการร้องขอต่อศาลให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ เพื่อให้กฎหมายปรับโครงสร้างกิจการมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาเป็น 2 วิธี ได้แก่ 1) การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยการเพิ่มบทบัญญัติให้ความคุ้มครองเจ้าหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างกิจการ การกำหนดสิทธิของเจ้าหนี้ในการพิจารณาแผน การเพิ่มอำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจ การเพิ่มหลักเกณฑ์เรื่องเจ้าหนี้ภาษี การเปิดช่องให้ลูกหนี้พิสูจน์สถานะตนเองในกรณีที่ บสท. ร้องขอต่อศาลให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และ 2) การแก้ไขด้วยวิธีการจัดการและนโยบายของ บสท. โดยการกำหนดนโยบายให้ บสท. ต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เจ้าหนี้จะได้รับเป็นสำคัญ ทั้งในเรื่องการได้รับชำระหนี้และการพิจารณาแผนโดยต้องถือว่าเจ้าหนี้มีประกันเป็นเจ้าหนี้ที่อยู่ในลำดับเดียวกับ บสท. และมีสิทธิเท่ากับ บสท. สำหรับเรื่องการหลุดพ้นความรับผิดของผู้ค้ำประกันบสท. จะต้องกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการพิจารณารับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน เช่นพิจารณาจากศักยภาพของผู้ค้ำประกัน และการสืบทรัพย์ผู้ค้ำประกัน เป็นต้น |
บรรณานุกรม | : |
เอกอัคร จิตตานนท์ . (2545). การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 :ศึกษาเฉพาะกรณีการปรับโครงสร้างกิจการ.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. เอกอัคร จิตตานนท์ . 2545. "การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 :ศึกษาเฉพาะกรณีการปรับโครงสร้างกิจการ".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. เอกอัคร จิตตานนท์ . "การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 :ศึกษาเฉพาะกรณีการปรับโครงสร้างกิจการ."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2545. Print. เอกอัคร จิตตานนท์ . การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 :ศึกษาเฉพาะกรณีการปรับโครงสร้างกิจการ. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2545.
|