ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการพัฒนาทางกายภาพบริเวณรอบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ.นครราชสีมา |
นักวิจัย | : | กตัญญู หอสูติสิมา |
คำค้น | : | DEVELOPMENT GUIDELINES , MONUMENT , NAKHONRATCHASIMA , TAU-SURANAREE , URBAN DESIGN , URBAN OPEN SPACE |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082545000372 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | เมืองนครราชสีมาหรือเมืองโคราช เป็นชุมชนเมืองโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา พื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี คือพื้นที่แนวคูเมืองกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกของเขตเมืองเก่า เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และมีความหมายต่อชาวเมืองนครราชสีมา เนื่องจากเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์รวมใจของชาวเมือง การศึกษาแนวทางการพัฒนาทางกายภาพบริเวณรอบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ.นครราชสีมาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ การหารูปแบบที่เหมาะสม ในการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีและพื้นที่โดยรอบ โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างความสำคัญให้กับพื้นที่บริเวณดังกล่าว ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญของเมือง เพื่อเพิ่มคุณค่าด้านความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสถานที่ และการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาพื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีที่สอดคล้องกับบทบาทและความสำคัญของพื้นที่ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาและส่งเสริมศักยภาพของพื้นที่ในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งแนวทางการพัฒนาพื้นที่ที่นำเสนอ มีดังต่อไปนี้ 1. แนวทางการปรับปรุงพื้นที่และมุมมองที่มีต่อพื้นที่ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี 2. แนวทางการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์เมือง 3. แนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว 4. แนวทางการจัดระบบการจราจร 5. แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่งและการสัญจร 6. แนวทางการอนุรักษ์องค์ประกอบที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ 7. แนวทางในการกำหนดการใช้ที่ดินในอนาคต ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผนพัฒนาเมืองให้ทางเทศบาลนครนครราชสีมาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ โดยเฉพาะการนำเสนอประเด็นปัญหาและรูปแบบการพัฒนาทางกายภาพที่เป็นรูปธรรม ซึ่งอาจใช้เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถนำมาประเมิน และเปรียบเทียบกับแนวทางเลือกอื่น ๆ ในการพัฒนาพื้นที่ที่จะทำการศึกษาต่อไปได้ และในตอนท้ายได้สรุปข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาครั้งต่อไปที่จะช่วยทำให้การศึกษานี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
กตัญญู หอสูติสิมา . (2545). แนวทางการพัฒนาทางกายภาพบริเวณรอบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ.นครราชสีมา.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. กตัญญู หอสูติสิมา . 2545. "แนวทางการพัฒนาทางกายภาพบริเวณรอบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ.นครราชสีมา".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. กตัญญู หอสูติสิมา . "แนวทางการพัฒนาทางกายภาพบริเวณรอบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ.นครราชสีมา."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2545. Print. กตัญญู หอสูติสิมา . แนวทางการพัฒนาทางกายภาพบริเวณรอบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ.นครราชสีมา. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2545.
|