ชื่อเรื่อง | : | ต้นแบบสำหรับการตรวจสภาพการฝังอัญมณีบนตัวเรือนแหวน |
นักวิจัย | : | พิพัฒน์ ไพศาลภาณุมาศ |
คำค้น | : | PROTOTYPE , INSPECTION , JEWELRY SETTING |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082543001266 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ปัญหาที่มักพบในอุตสาหกรรมเครื่องประดับเกี่ยวกับกาตรวจสอบคุณภาพ คือการเกิดความผิดพลาดในการตรวจสอบโดยพนักงานตรวจสอบคุณภาพสูง วิธีการตรวจสอบใช้วิธีการเคาะตัวเรือนแหวนแล้วฟังเสียง ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ100 เปอร์เซ็นต์ 2 ครั้ง ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสูง เนื่องจากเครื่องประดับมีมูลค่าสูง และคุณภาพมีผลต่อความพึงพอใจและมีคุณค่าทางจิตใจ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ต้นแบบสำหรับการตรวจสอบสภาพการฝังอัญมณีบนตัวเรือนแหวน โดยการนำทฤษฏีต่าง ๆ ได้แก่ คลื่น ความถี่ เสียงไมโครคอนโทรลเลอร์ และวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น มาประยุกต์ในการออกแบบและสร้างต้นแบบ โดยมีหลักการทำงานของต้นแบบดังนี้ เริ่มต้นจากชุดกำเนิดความถี่จะส่งความถี่ใช้งานที่เหมาะสมไปยังอุปกรณ์กำเนิดความถี่และส่งต่อไปที่ตัวเรือนแหวน โดยในการศึกษาครั้งนี้ความถี่ใช้งานที่เหมาะสมกับขีดความสามารถของอุปกรณ์อยู่ที่ 150 Hz เมื่อแหวนได้รับความถี่นั้นก็จะสั่นและเกิดความถี่ขึ้นมา ต่อจากนั้นใช้อุปกรณ์ตรวจจับความถี่ที่เกิดขึ้นที่แหวนส่งต่อไปยังชุดกรองความถี่ เพื่อทำการกรองความถี่ที่ไม่ต้องการออก ส่งต่อไปยังชุดขยายสัญญาณเพื่อขยายสัญญาณให้สูงขึ้นส่งต่อไปยังชุดไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อประมวลผล และส่งผลนั้นไปแสดงผลที่ชุดแสดงผลเพื่อแสดงว่าแหวนหลวมหรือไม่หลวม ในการสร้างแต่ละส่วนประกอบได้มีการทดลองเพื่อหาค่าความต้านทาน ค่าความเก็บประจุอัตราขยายของชุดขยายสัญญาณ ช่วงความถี่ใช้งานที่เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการทดสอบต้นแบบที่สร้างขึ้น โดยทำการทดสอบต้นแบบที่ห้องปฏิบัติการและที่โรงงานตัวอย่าง ได้ทำการทดสอบกับแผวนที่มีรูปแบบแตกต่างกันจำนวน 9 รูปแบบ และทำการทดสอบรูปแบบละ 10 ครั้ง ผลการเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดของการตรวจสอบระหว่างวิธีการเดิมกับวิธีการใหม่พบว่าการใช้ตันแบบนั้นมีความผิดพลาดน้อยกว่าและการตรวจสอบโดยใช้ต้นแบบนี้สามารถตรวจสอบได้ทั้ง 9 รูปแบบ ให้ผลการตรวจสอบที่ถูกต้องและสามารถใช้งานได้จริงในการตรวจสอบสภาพการฝังอัญมณีบนตัวเรือนแหวน |
บรรณานุกรม | : |
พิพัฒน์ ไพศาลภาณุมาศ . (2543). ต้นแบบสำหรับการตรวจสภาพการฝังอัญมณีบนตัวเรือนแหวน.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. พิพัฒน์ ไพศาลภาณุมาศ . 2543. "ต้นแบบสำหรับการตรวจสภาพการฝังอัญมณีบนตัวเรือนแหวน".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. พิพัฒน์ ไพศาลภาณุมาศ . "ต้นแบบสำหรับการตรวจสภาพการฝังอัญมณีบนตัวเรือนแหวน."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2543. Print. พิพัฒน์ ไพศาลภาณุมาศ . ต้นแบบสำหรับการตรวจสภาพการฝังอัญมณีบนตัวเรือนแหวน. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2543.
|