ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | นิชาภา ประสพอารยา |
คำค้น | : | PERSONNEL , ADMINISTRATIVE PROCESS , ELEMENTARY SCHOOLS |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082543001006 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลและศึกษาสภาพปัญหาในการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยที่ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 118 คนและครูผู้ปฏิบัติการสอนจำนวน 346 คน แบบสอบถามในการวิจัยครั้งนี้สร้างขึ้น โดยอาศัยกรอบแนวคิดการบริหารงานบุคคลของ Castetter(1976) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการต่างๆ ได้แก่ การวางแผนกำลังคน,การสรรหา, การคัดเลือก, การนำเข้าสู่หน่วยงาน, การประเมินผลการปฏิบัติงานการพัฒนา, ค่าตอบแทนหรือสิ่งจูงใจ, การปฏิบัติงานต่อเนื่อง,ความมั่นคงในการปฏิบัติงาน, การไกล่เกลี่ยปัญหาด้านบุคคล และการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบุคคล ผลการวิจัยพบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่มีสภาพการบริหารงานบุคคลดังนี้ 1. มีการจัดทำแผนกำลังคน โดยจะทำเพื่อการวางแผนเพื่อพัฒนากำลังคนในระยะเวลาต่าง ๆ เป็นแผนปฏิบัติการ 1-2 ปี 2. มีการดำเนินการสรรหา โดยการเปลี่ยนตำแหน่งบุคลากรที่มีความสามารถในโรงเรียนขึ้นมาแทน และจะดำเนินการสรรหาเพื่อบรรจุในตำแหน่งที่ว่างโดยการสรรหาจากบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติเหมาะสม 3. มีการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน โดยผู้บริหารใช้อำนาจตัดสินใจในการคัดเลือกในขอบเขตที่พึงกระทำได้ใช้เกณฑ์การคัดเลือกโดยพิจารณาจากคุณวุฒิ บุคลิกภาพ ความสามารถและความรู้ตรงตามสาขาวิชาที่ต้องการ 4. มีการนำบุคคลเข้าสู่หน่วยงานโดยผู้บริหารแต่ละฝ่ายและหัวหน้างานแนะนำการปฏิบัติงานและรายละเอียดอื่น ๆ5. มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรใหม่ โดยการให้รับมอบหมายติดตาม และรายงานการปฏิบัติงานเป็นระยะ 6. มีการวิเคราะห์ความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร โดยการนำความเคลื่อนไหวทางการศึกษาใหม่ ๆมาดำเนินการพัฒนาให้บุคลากรเข้าใจและนำไปปฏิบัติ และพัฒนาบุคลากรโดยการฝึกอบรม 7. มีการจัดผลประโยชน์เกื้อกูลที่นอกจากเงินเดือนโดยการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสวัสดิการต่างๆ ที่บุคลากรมีสิทธิได้รับ8. มีการมอบหมายงานที่ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความรู้สึกอยากทำงานต่อเนื่องโดยการพิจารณาถึงความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของบุคลากร9. มีดำเนินการที่ทำให้บุคลากรเกิดความรู้สึกมั่นคงในการปฏิบัติงานโดยการที่ผู้บริหารให้คำปรึกษาต่างๆ จัดบริการด้านสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยในโรงเรียน 10. มีการดำเนินการในเรื่องการไกล่เกลี่ยปัญหาด้านบุคคลในโรงเรียน โดยการจัดประชุมบุคลากรเป็นประจำทุกเดือน 11. มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนและบุคคลที่ทันสมัย ส่วนปัญหาพบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในการบริหารจำแนกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1. กลุ่มที่มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การคัดเลือกการประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนา และค่าตอบแทนหรือสิ่งจูงใจ 2. กลุ่มที่มีปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุด ได้แก่ การนำเข้าสู่หน่วยงาน การปฏิบัติงานต่อเนื่องความมั่นคงในการปฏิบัติงานการไกล่เกลี่ยปัญหาด้านบุคคล และการให้บริการข้อมูลข่าวสาร |
บรรณานุกรม | : |
นิชาภา ประสพอารยา . (2543). การศึกษาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. นิชาภา ประสพอารยา . 2543. "การศึกษาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. นิชาภา ประสพอารยา . "การศึกษาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2543. Print. นิชาภา ประสพอารยา . การศึกษาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2543.
|