ชื่อเรื่อง | : | พอลิเมอร์ผสมยางธรรมชาติและยางพอลิคลอโรพรีนสำหรับการผลิตยางกันฝุ่น |
นักวิจัย | : | อัจฉรี ตระการวราภรณ์ |
คำค้น | : | NATURAL RUBBER , POLYCHLOROPRENE , BLEND , RUBBER BLEND , RUBBER BOOT |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082543000294 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | งานวิจัยนี้ ได้ศึกษาการผสมธรรมชาติกับยางพอลิคลอโรพรีนที่อัตราส่วนต่าง ๆ และเติมเขม่าดำเป็นสารเสริมแรงเพื่อใช้ในการผลิตยางกับฝุ่น โดยศึกษาผลของอัตราส่วนการผสมยางดังกล่าวและการเติมสารเชื่อมการผสมยางต่อสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกลของยางผสมที่เสริมแรงด้วยเขม่าดำ ลักษณะการคงรูปของยางผสมได้จากการวิเคราะห์รีโอกราฟ ผลการทดลองแสดงว่า อัตราส่วนในการผสมยางและการเติมสารเชื่อมการผสมยางมีผลต่อสมบัติทางกายภาพของยางผสม เมื่ออัตราส่วนของยางพอลิคลอโรพรีนในยางผสมเพิ่มขึ้น สมบัติของยางก่อนการคงรูปได้แก่ ความหนืด เวลาที่ยางเริ่มคงรูป และเวลาที่ใช้ในการคงรูปถึงร้อยละ 90 มีค่าเพิ่มขึ้น ส่วนสมบัติของยางหลังการคงรูปทั้งก่อนและหลังการอบบ่มเร่งให้ยางเสื่อมสภาพที่ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 22ชั่วโมง ได้แก่ ความถ่วงจำเพาะ โมดูลัส ความแข็ง การยุบตัว และความสามารถทนต่อโอโซนนั้นปรับปรุงให้ดีขึ้นได้มากเมื่อเพิ่มยางพอลิคลอโรพรีน ในขณะที่ความยืดเมื่อขาด ความสามารถในการทนต่อการบวมตัวเนื่องจากน้ำมันหรือจาระบี และสมบัติความต้านทานการนำไฟฟ้ามีค่าลดลง แต่ความต้านทานแรงดึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับสมบัติเชิงกลของยางผสมพบว่า ยางผสมมีค่าอุณหภูมิกลาสทรานซิชัน (T(,g)) และจุดยอดของ tan (+,d) สองค่า ในขณะที่ยางชนิดเดียวมีอุณหภูมิกลาสทรานซิชัน (T(,g)) และจุดยอดของ tan (+,d) เพียงค่าเดียวและมีลักษณะที่แคบกว่าอย่างไรก็ตามการเติมสารเชื่อมการผสมยางลงไป พบว่าอุณหภูมิกลาสทรานซิชัน (T) ทั้งสองค่าของยางผสมจะมีความแตกต่างน้อยลง แสดงว่าการผสมยางเข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ดีขึ้นและยังช่วยเพิ่มความต้านแรงดึงได้เล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบสมบัติของยางผสมกับมาตรฐานยางกันฝุ่น พบว่าอัตราส่วนผสมระหว่างยางธรรมชาติต่อยางพอลิคลอโรพรีน ที่ 30 : 70 ไม่เติมสารเชื่อมการผสมยาง และที่ 40 : 60 โดยเติมสารเชื่อมการผสมยาง ยางมีค่าที่ได้มาตรฐานตามกำหนด ทั้งสองกรณีเตรียมโดยใช้เขม่าดำ N660 และทำให้คงรูปแบบระบบประสิทธิภาพนอกจากนี้การใช้ยางธรรมชาติแทนที่ยางพอลิคลอโรพรีนจะลดต้นทุนในการผลิตยางกันฝุ่น และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางธรรมชาติ |
บรรณานุกรม | : |
อัจฉรี ตระการวราภรณ์ . (2543). พอลิเมอร์ผสมยางธรรมชาติและยางพอลิคลอโรพรีนสำหรับการผลิตยางกันฝุ่น.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. อัจฉรี ตระการวราภรณ์ . 2543. "พอลิเมอร์ผสมยางธรรมชาติและยางพอลิคลอโรพรีนสำหรับการผลิตยางกันฝุ่น".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. อัจฉรี ตระการวราภรณ์ . "พอลิเมอร์ผสมยางธรรมชาติและยางพอลิคลอโรพรีนสำหรับการผลิตยางกันฝุ่น."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2543. Print. อัจฉรี ตระการวราภรณ์ . พอลิเมอร์ผสมยางธรรมชาติและยางพอลิคลอโรพรีนสำหรับการผลิตยางกันฝุ่น. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2543.
|