ชื่อเรื่อง | : | ความเสมอภาคในการจัดสรรงบประมาณโดยใช้ระบบเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม |
นักวิจัย | : | พลพัธน์ โคตรจรัส |
คำค้น | : | EQUITY , BUDGET ALLOCATION , HEALTH SERVICES |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082544000988 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงความเสมอภาคในการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานพยาบาล จากการนำเอาระบบการจ่ายค่าบริการตามหน่วยของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมเข้ามาใช้ด้วยแบบจำลองที่แตกต่างกัน โดยศึกษาเฉพาะงบประมาณที่จัดสรรชดเชยให้กับสถานพยาบาลในส่วนของการให้บริการผู้ป่วยในที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงที่อยู่ภายใต้โครงการสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล และโครงการบัตรสุขภาพเท่านั้น สถานพยาบาลที่เป็นตัวอย่างในการศึกษาเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย โรงพยาบาลชุมชน 305 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 61 แห่ง และโรงพยาบาลศูนย์ 12 แห่ง โดยรวบรวม ข้อมูลทุติยภูมิจากข้อมูลรายงานสถิติของโรงพยาบาลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ของกระทรวงสาธารณสุข การศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งเป็นสองส่วน ในส่วนแรกได้นำค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของผู้ป่วย และตัวแปรที่แสดงถึงระดับของโรงพยาบาลมาใช้ในการสร้างแบบจำลองการจัดสรรงบประมาณ โดยแบบจำลองที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 3 กรณี กรณีที่ 1 เป็นการจัดสรรงบประมาณโดยใช้แบบจำลองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กรณีที่ 2 เป็นการจัดสรรงบประมาณที่มีการให้น้ำหนักในการจัดสรรงบประมาณต่างกันสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มโรคเดียวกันแต่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่มีระดับที่ต่างกัน กรณีที่ 3 เป็นการจัดสรรงบประมาณที่มีการให้น้ำหนักในการจัดสรรงบประมาณเท่ากันสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มโรคเดียวกัน ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่มีระดับที่ต่างกัน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ในการประมาณค่าแบบจำลองในกรณีที่ 2 และ 3 และในส่วนที่สอง ได้วัดความไม่เสมอภาคในการจัดสรรงบประมาณด้วยดัชนีGini และดัชนี Shorrock จากงบประมาณที่คำนวณโดยใช้แบบจำลองทั้งสามกรณี ผลการวิเคราะห์พบว่าการจัดสรรงบประมาณด้วยแบบจำลองที่ได้จากการวิเคราะห์กรณีที่ 2 และ 3 ให้ความเสมอภาคมากกว่าแบบจำลองที่ใช้อยู่จริง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากค่าดัชนีของการจัดสรรงบประมาณในกรณีที่ 2 และ 3 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงถือว่าการจัดสรรงบประมาณทั้งสองกรณีให้ความเสมอภาคที่ไม่แตกต่างกัน โดยงบประมาณที่สถานพยาบาลได้รับจากการ จัดสรรงบประมาณในกรณีที่ 2 มากกว่ากรณีที่ 3 อยู่เล็กน้อย ดังนั้นแบบจำลองที่ใช้ในการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานพยาบาลจึงสามารถเลือกใช้แบบจำลองกรณีที่ 2 หรือ 3 ได้ทั้งสองแบบ ซึ่งถ้ายึดหลักของการจัดสรรงบประมาณตามค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของผู้ป่วยให้เป็นไปตามแนวความคิดที่ว่าคุณภาพของการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในกลุ่มโรคเดียวกันของโรงพยาบาลในแต่ละระดับแตกต่างกัน ก็สมควรใช้แบบจำลองในกรณีที่ 2 ในการจัดสรรงบประมาณ ตรงกันข้ามถ้าการจัดสรรงบประมารณยึดหลักตามแนวความคิดที่ว่าคุณภาพของการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในกลุ่มโรคเดียวกันของโรงพยาบาลแต่ละระดับไม่แตกต่างกัน ก็น่าที่จะใช้แบบจำลองในกรณีที่ 3 ในการจัดสรรงบประมาณ อย่างไรก็ตามการจัดสรรงบประมาณ นอกจากค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของผู้ป่วยแล้วยังขึ้นอยู่กับค่าคงที่ในสมการซึ่งแตกต่างกันอีกด้วย |
บรรณานุกรม | : |
พลพัธน์ โคตรจรัส . (2544). ความเสมอภาคในการจัดสรรงบประมาณโดยใช้ระบบเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. พลพัธน์ โคตรจรัส . 2544. "ความเสมอภาคในการจัดสรรงบประมาณโดยใช้ระบบเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. พลพัธน์ โคตรจรัส . "ความเสมอภาคในการจัดสรรงบประมาณโดยใช้ระบบเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2544. Print. พลพัธน์ โคตรจรัส . ความเสมอภาคในการจัดสรรงบประมาณโดยใช้ระบบเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2544.
|