ชื่อเรื่อง | : | การบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในพื้นที่สาธารณสุข เขต 3 |
นักวิจัย | : | วัลภา ศรีสุภาพ |
คำค้น | : | HEALTH SERVICE , GOVERNMENT AND PRIVATE HOSPITAL , HEALTH REGION 3 |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082544000740 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในพื้นที่สาธารณสุขเขต 3 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2544 ถึง มกราคม 2545 โดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาล/ผู้รับผิดชอบบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลทุกแห่งในพื้นที่สาธารณสุขเขต 3จำนวน 95 แห่ง อัตราตอบกลับ 82.1% และสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารโรงพยาบาล 9 แห่งเปรียบเทียบความแตกต่างโดย Mann-Whitney U test และ Kruskal-Wallis H test ส่วนข้อมูลการสัมภาษณ์ใช้ข้อความเชิงพรรณนา ผลจากแบบสอบถามพบว่า โรงพยาบาลที่มีบริการอาชีวอนามัย 63 แห่ง (81.8%)ส่วนใหญ่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในจังหวัดชลบุรี เป็นโรงพยาบาลขนาดต่ำกว่า60 เตียง มีผู้รับผิดชอบงานเพศชาย อายุเฉลี่ย 37 ปี ตำแหน่งนักวิชาการ ระดับการศึกษาปริญญาตรี ระยะเวลาที่รับผิดชอบงานเฉลี่ย 5.1 ปี ไม่เคยจบการศึกษาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและไม่เคยเข้ารับการอบรมด้านอาชีวอนามัย หน่วยงานอาชีวอนามัยมีระยะเวลาการจัดบริการอยู่ระหว่าง 1-5 ปี จำนวนสถานประกอบการที่ให้บริการในรอบปีที่ผ่านมาระหว่าง 1-10 แห่ง ไม่มีการให้บริการคลินิกอาชีวเวชศาสตร์และไม่มีการแยกหน่วยงานด้านอาชีวอนามัยออกเป็นอิสระ ระยะทางที่โรงพยาบาลออกไปให้บริการอาชีวอนามัยมีระยะทางใกล้สุดเฉลี่ย 4 กิโลเมตร ระยะทางไกลสุดเฉลี่ย 24.3 กิโลเมตร ทีมงานส่วนใหญ่ประกอบด้วยพยาบาล โดยมากกว่าร้อยละ 50 ของโรงพยาบาลที่ให้บริการไม่มีแพทย์พยาบาล หรือนักวิชาการที่มีความรู้ด้านอาชีวอนามัยเลย ในภาพรวมการจัดบริการอาชีวอนามัยด้านบริหาร บริการ และวิชาการโรงพยาบาลส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 60 มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ โดยด้านบริการมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (2.18) และด้านวิชาการมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด (1.78) เมื่อเปรียบเทียบบริการอาชีวอนามัยระหว่างโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในภาพรวมพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปัจจัยด้านหน่วยงานที่มีผลต่อบริการอาชีวอนามัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ประเภทหน่วยงานจำนวนสถานประกอบการที่ให้บริการในรอบปีที่ผ่านมา การมีบริการคลินิกอาชีวเวชศาสตร์และการแยกหน่วยงานด้านอาชีวอนามัยออกเป็นอิสระ ปัจจัยด้านผู้รับผิดชอบงานที่มีผลต่อบริการอาชีวอนามัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัย ผลการสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริการอาชีวอนามัยประสบความสำเร็จ คือ ผู้บริหารมีนโยบายสนับสนุน และทีมงานมีประสิทธิภาพ ปัญหาสำคัญที่พบคือ ขาดแคลนแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ นอกจากนี้พบว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อหาลูกค้าและคิดว่ามีความคุ้มในการลงทุนด้านนี้ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลในพื้นที่สาธารณสุขเขต 3 ยังอยู่ในระดับต่ำ ยังต้องการการพัฒนาอีกมากโดยเฉพาะด้านวิชาการและสารสนเทศ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและมีการพัฒนางานบริการอาชีวอนามัยนี้อย่างจริงจัง |
บรรณานุกรม | : |
วัลภา ศรีสุภาพ . (2544). การบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในพื้นที่สาธารณสุข เขต 3.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. วัลภา ศรีสุภาพ . 2544. "การบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในพื้นที่สาธารณสุข เขต 3".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. วัลภา ศรีสุภาพ . "การบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในพื้นที่สาธารณสุข เขต 3."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2544. Print. วัลภา ศรีสุภาพ . การบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในพื้นที่สาธารณสุข เขต 3. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2544.
|