ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการปรับปรุงย่านประตูน้ำฝั่งตะวันออก |
นักวิจัย | : | รัฐภูมิ ปาการเสรี |
คำค้น | : | RENEWAL , REDEVELOPMENT , REHABILITATION , PRATUNAM |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082544001031 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะ (1.) ทราบสภาพปัญหา และวิเคราะห์ถึงโครงสร้างของปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ศึกษา (2.) เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ในเขตเมืองชั้นใน และ (3.) เสนอแนะรูปแบบทางกายภาพที่เหมาะสมสำหรับอาคารในพื้นที่เมืองชั้นในโดยวิธีการศึกษาเริ่มจากการสำรวจลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ซึ่งนำมาใช้เป็นเกณฑ์แบ่งพื้นที่ออกเป็น 23 กลุ่ม และสอบถามผู้ใช้สอยพื้นที่ทั้งสิ้น 369 ตัวอย่างทั้งกลุ่มบุคคลภายนอกและผู้อยู่อาศัยภายในพื้นที่ ถึงสภาพปัญหาและระดับความรุนแรงตลอดจนทัศนคติต่อสาเหตุของปัญหา แล้วจึงวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ในเชิงเหตและผลระหว่างลักษณะทางกายภาพกับสภาพปัญหา พื้นที่ศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของ "ประตูน้ำ" ย่านการค้าเก่าแก่ในเขตเมืองชั้นในที่ปัจจุบันมีสภาพทรุดโทรมเนื่องจากขาดการพัฒนามาเป็นเวลานาน มีสิ่งปลูกสร้างที่หนาแน่นแต่กลับมีสัดส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่คุ้มค่า มีความปะปนของกิจกรรมการใช้สอยและรูปลักษณ์อาคารจนทำให้เกิดความไม่สวยงาม และโครงข่ายและขนาดของระบบโครงสร้างพื้นฐานยังขาดมาตรฐานโดยเฉพาะถนนและทางเดินเท้า สภาพทางกายภาพที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในการใช้สอยพื้นที่ โดยเฉพาะปัญหามลภาวะทางอากาศ ปัญหาจราจรติดขัด ปัญหาความไม่สะดวกในการเดินทาง ปัญหามลภาวะทางเสียง และปัญหาอากาศไม่ถ่ายเท สถานการณ์เหล่านี้ ได้นำพื้นที่เข้าสู่ความเป็นย่านการค้าที่เสื่อมโทรม ดังนั้นจึงได้เสนอแนะให้มีการพัฒนาย่านการค้าเก่าแห่งนี้ ในการพัฒนาได้กำหนดให้พื้นที่คงบทบาทความเป็นย่านการค้าเก่า ด้วยศักยภาพของที่ตั้งโดยให้เพิ่มระดับความเข้มข้นในการใช้ที่ดินขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดผังเมืองรวมและนโยบายการพัฒนาทั้งในระดับภาคจนถึงระดับท้องถิ่น แนวทางการพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 ระดับตามเครื่องมือในการฟื้นฟูเมือง ซึ่งได้แก่ (1.) การบูรณะปรับปรุงสำหรับการบรรเทาปัญหาในชั้นต้น 5 ประการ คือ การซ่อมแซมอาคาร, การจัดระเบียบการใช้ถนนและทางเท้า, การควบคุมกิจกรรมการใช้สอยอาคาร, การปลูกต้นไม้และจัดหาสวนหย่อม, การเพิ่มเติมสาธารณูปโภคสาธารณูปการ และ (2.) การพัฒนาฟื้นฟูสำหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาวที่โครงสร้างทางกายภาพของพื้นที่ ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบและการใช้ประโยชน์ของสิ่งปลูกสร้าง และพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งทำให้เพิ่มพื้นที่ใช้สอยขึ้นอีก 430,000 ตารางเมตร ทั่วทั้งพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณที่มีศักยภาพจากการเข้าถึง เช่น บริเวณสี่แยกประตูน้ำ และ ที่ดินที่ติดถนนเพชรบุรี รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ทางสัญจรขึ้นจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งหมด การดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายสามารถทำได้โดยผ่านกลไกทางด้านกฎหมายผังเมือง, องค์กรบริหารที่ครอบคลุมการจัดการที่ดิน และเงินทุน และความร่วมมือจากประชาชน |
บรรณานุกรม | : |
รัฐภูมิ ปาการเสรี . (2544). แนวทางการปรับปรุงย่านประตูน้ำฝั่งตะวันออก.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. รัฐภูมิ ปาการเสรี . 2544. "แนวทางการปรับปรุงย่านประตูน้ำฝั่งตะวันออก".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. รัฐภูมิ ปาการเสรี . "แนวทางการปรับปรุงย่านประตูน้ำฝั่งตะวันออก."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2544. Print. รัฐภูมิ ปาการเสรี . แนวทางการปรับปรุงย่านประตูน้ำฝั่งตะวันออก. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2544.
|