ชื่อเรื่อง | : | การสร้างความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับความรู้สึกเป็นตราบาป ในกลุ่มผู้หญิงที่มีบุตรยาก |
นักวิจัย | : | กังสดาล เชาว์วัฒนกุล |
คำค้น | : | บทบาทตามเพศ , ความรู้สึกเป็นตราบาป , การเป็นหมันในหญิง , ครอบครัว , การปรับตัวทางสังคม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ภาวิกา ปิยมาพรชัย , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741761694 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/689 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ศึกษาปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อบทบาทคาดหวังของผู้หญิง ในสังคมไทยสมัยปัจจุบัน กระบวนการเกิด "ความรู้สึกเป็นตราบาป" (Stigma) ของผู้หญิงที่มีบุตรยาก ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะมีบุตรยากของผู้หญิงกับสภาพความสัมพันธ์ในครอบครัว ตลอดจนวิธีการปรับตัวของผู้หญิงในภาวะมีบุตรยาก ซึ่งแนวคิดที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แนวคิดบทบาททางเพศ แนวคิดความรู้สึกเป็นตราบาป แนวคิดภาวะมีบุตรยาก แนวคิดครอบครัว และแนวคิดการปรับตัวทางสังคม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบกรณีศึกษา (Case study) ด้วยวิธีการสังเกตการณ์ การศึกษาประวัติชีวิต และการสัมภาษณ์เจาะลึก โดยการเลือกตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง จากประชากรที่มารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาการมีบุตรยาก ณ สถานพยาบาลเจตนิน จำนวน 10 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ความรู้สึกเป็นตราบาปในกลุ่มผู้หญิงที่มีบุตรยาก เกิดมาจากการสร้างความหมายทางสังคมและวัฒนธรรม ดังนี้ 1) กระบวนการขัดเกลาทางสังคมของครอบครัวได้สร้างตัวตนทางสังคมให้ผู้หญิง ยอมรับและดำเนินตามบทบาทคาดหวัง อันได้แก่ บทบาทของบุตรสาว บทบาทของผู้หญิงทำงาน บทบาทของภรรยา และบทบาทของมารดา 2) เมื่อผู้หญิงต้องเผชิญกับภาวะมีบุตรยาก และรู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากผู้หญิงคนอื่น ตรงที่ไม่สามารถตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรได้ เธอจะเกิดความรู้สึกเป็นตราบาปขึ้น เครียดกังวล รู้สึกผิดต่อตนเองและสามี ขาดความมั่นคงในชีวิต รวมทั้งวิตกในผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จากการที่ไม่สามารถดำเนินตามบทบาทคาดหวังดังกล่าวได้ 3) ภาวะมีบุตรยากของผู้หญิงยังส่งผลให้ชีวิตของคู่สมรสส่วนใหญ่ เกิดความเครียดและขัดแย้งกันบ่อยขึ้น 4) ผู้หญิงมีบุตรยากส่วนใหญ่จะมีการปรับตัวในช่วงระหว่างการรักษา และหลังการรักษาเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากความรู้สึกเป็นตราบาป และดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างปกติสุข |
บรรณานุกรม | : |
กังสดาล เชาว์วัฒนกุล . (2547). การสร้างความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับความรู้สึกเป็นตราบาป ในกลุ่มผู้หญิงที่มีบุตรยาก.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กังสดาล เชาว์วัฒนกุล . 2547. "การสร้างความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับความรู้สึกเป็นตราบาป ในกลุ่มผู้หญิงที่มีบุตรยาก".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กังสดาล เชาว์วัฒนกุล . "การสร้างความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับความรู้สึกเป็นตราบาป ในกลุ่มผู้หญิงที่มีบุตรยาก."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. กังสดาล เชาว์วัฒนกุล . การสร้างความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับความรู้สึกเป็นตราบาป ในกลุ่มผู้หญิงที่มีบุตรยาก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|