ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็กวัยอนุบาล ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี |
นักวิจัย | : | นุตอนงค์ ทัดบัวขำ |
คำค้น | : | TEACHERS ROLE , PROBLEM SOLVING SKILLS , PRESCHOOLERS |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2540 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082540001082 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็กวัยอนุบาล ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี ในด้านการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็กวัยอนุบาล ด้านการสอนทักษะการแก้ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหา และปัญหาอุปสรรคของครูผู้สอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ครูมีการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา โดยจัดกิจกรรมในหน่วยการเรียนที่มีเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์ที่สัมพันธ์หรือเน้นการแก้ปัญหา วิธีปฏิบัติคือเลือกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาใช้เป็นสถานการณ์ตัวอย่างให้เด็กร่วมอภิปรายและสรุปวิธีการแก้ปัญหา ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรมฝึกแก้ปัญหามากที่สุดคือช่วงกิจกรรมในวงกลมสื่อที่นำมาใช้ประกอบหรือกระตุ้นความสนใจเด็กเกี่ยวกับปัญหามากที่สุดคือสื่อประเภทนิทาน วิธีการที่ครูใช้ในการประเมินผลการแก้ปัญหาของเด็กคือการสังเกตพฤติกรรมเด็กขณะแก้ปัญหาและประเมินในด้านความสามารถในการเลือกหรือบอกวิธีการแก้ปัญหา 2. ด้านการสอนทักษะการแก้ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาจากการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน วิธีการที่ครูปฏิบัติ คือการสอนทักษะการกำหนดประเด็นปัญหา ครูเสนอปัญหาโดยใช้ภาพที่มีเรื่องราวที่เป็นปัญหาให้เด็กร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและสรุปสาเหตุของปัญหา การสอนทักษะการพิจารณาเลือกวิธีการแก้ปัญหา ครูให้เด็กเสนอความคิดเห็นอย่างเสรีแล้วสรุปและร่วมกันตัดสินใจเป็นระบบกลุ่มในการเลือกวิธีแก้ปัญหา การสอนทักษะการทดลองปฏิบัติการแก้ปัญหาครูให้เด็กแก้ปัญหาตามวิธีการที่เลือกและครูให้ความช่วยเหลือการสอนทักษะการประเมินและสรุปผลการแก้ปัญหา ครูให้เด็กเสนอวิธีแก้ไขปัญหาของตนเอง และกระตุ้นให้เด็กตรวจสอบการทำงาน ด้านการสอนทักษะการแก้ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง วิธีการที่ครูปฏิบัติคือการสอนทักษะการกำหนดประเด็นปัญหา ครูใช้การถามหรือการพูดกระตุ้นให้เด็กเข้าใจปัญหา การสอนทักษะการพิจารณาเลือกวิธีการแก้ปัญหา ครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิดหาวิธีการด้วยตนเอง การสอนทักษะการปฏิบัติการทดลองแก้ปัญหา ครูให้เด็กแก้ปัญหาตามวิธีการที่เด็กบอก และครูให้ความช่วยเหลือแนะนำ ส่วนทักษะการประเมินและสรุปผลการแก้ปัญหาครูไม่ได้สอน 3. ปัญหาและอุปสรรคของครูผู้สอน ได้แก่ เด็กขาดความพร้อม สุขภาพไม่แข็งแรงและมีพื้นฐานการเลี้ยงดูแตกต่างกันครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาครูไม่เปิดโอกาสให้เด็กแก้ปัญหา และครูสอนเด็กจำนวนมากดูแลไม่ทั่วถึง ผู้ปกครองไม่ส่งเสริมให้เด็กแก้ปัญหาด้วยตนเองกิจกรรมการสอนในแต่ละวันมีมาก และกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแก้ปัญหาในแผนการจัดประสบการณ์มีน้อย |
บรรณานุกรม | : |
นุตอนงค์ ทัดบัวขำ . (2540). การศึกษาบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็กวัยอนุบาล ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. นุตอนงค์ ทัดบัวขำ . 2540. "การศึกษาบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็กวัยอนุบาล ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. นุตอนงค์ ทัดบัวขำ . "การศึกษาบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็กวัยอนุบาล ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2540. Print. นุตอนงค์ ทัดบัวขำ . การศึกษาบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็กวัยอนุบาล ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2540.
|