ชื่อเรื่อง | : | การเปรียบเทียบตัวสถิติทดสอบสำหรับการทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวน |
นักวิจัย | : | ศิริยุพา ราศรี |
คำค้น | : | TEST FOR EQUALITY OF VARIANCES , TYPE I ERROR , POWEROF THE TEST , BARRETTE TEST STATISTIC , LAY-JACK TESTSTATISTIC , O' BRIEN TEST STATISTIC , MONTE CARLO |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2540 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082540000195 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเปรียบเทียบตัวสถิติทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวนของประชากร3 กลุ่ม และ 5 กลุ่ม โดยใช้สถิติทดสอบบาร์ตเลต สถิติทดสอบโอบรีน และสถิติทดสอบเลแจค โดยจะศึกษาถึงความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของสถิติทดสอบทั้ง 3 ประเภท เมื่อกลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงเหมือนกัน และเมื่อกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแตกต่างกัน ขนาดของตัวอย่างที่กำหนดเท่ากัน ที่ระดับอัตราส่วนของความแปรปรวนต่างๆณ ระดับนัยสำคัญ 0.01, 0.05 และ 0.10 สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้จำลองด้วยเทคนิคมอนติคาร์โล ซึ่งกระทำซ้ำ5,000 ครั้ง ในแต่ละกรณี ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความแกร่งของการทดสอบ โดยพิจารณาความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 เมื่อประชากรมีการแจกแจงต่างๆ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง อัตราส่วนของความแปรปรวน และระดับนัยสำคัญ ณ ระดับต่างๆ ปรากฎว่า การแจกแจงของประชากรและขนาดของตัวอย่างมีผลต่อความแกร่งของการทดสอบ 2. อำนาจการทดสอบ เมื่อประชากรมีการแจกแจงแบบปกติ(สมมาตร) การแจกแจงแบบไวบูลล์ (เบ้ขวา) และประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติและประชากรบางกลุ่มมีการแจกแจงแบบไวบูลล์สถิติทดสอบบาร์ตเลตมีอำนาจการทดสอบสูงที่สุด และเมื่อประชากรมีการแจกแจงแบบที (สมมาตรหางยาว) สถิติทดสอบโอบรีนมีอำนาจการทดสอบสูงที่สุดเมื่อขนาดตัวอย่างมีขนาดเล็ก (5,10)แต่เมื่อขนาดตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้น (20,30,50) สถิติทดสอบเลแจคมีอำนาจการทดสอบสูงที่สุด และเมื่อประชากรมีการแจกแจงแบบปกติและประชากรบางกลุ่มมีการแจกแจงแบบที เมื่อขนาดตัวอย่างมีขนาดเล็ก (5,10) สถิติทดสอบโอบรีน สามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้เพียงวิธีเดียว แต่เมื่อขนาดตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้น (20,30,50)ไม่มีตัวสถิติทดสอบประเภทใดที่สามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ เนื่องจากข้อมูลเกิดค่าผิดปกติมากขึ้น 3. อัตราส่วนความแปรปรวน การแจกแจงของประชากรและขนาดของตัวอย่าง มีผลต่ออำนาจการทดสอบ 4. เมื่อไม่ทราบลักษณะการแจกแจงของประชากร ควรเลือกใช้ตัวสถิติทดสอบโอบรีน |
บรรณานุกรม | : |
ศิริยุพา ราศรี . (2540). การเปรียบเทียบตัวสถิติทดสอบสำหรับการทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวน.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ศิริยุพา ราศรี . 2540. "การเปรียบเทียบตัวสถิติทดสอบสำหรับการทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวน".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ศิริยุพา ราศรี . "การเปรียบเทียบตัวสถิติทดสอบสำหรับการทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวน."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2540. Print. ศิริยุพา ราศรี . การเปรียบเทียบตัวสถิติทดสอบสำหรับการทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวน. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2540.
|