ชื่อเรื่อง | : | ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สต่อวิธีการเผชิญความเครียดของมารดาที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย |
นักวิจัย | : | จิว เชาว์ถาวร |
คำค้น | : | ROGERIAN INDIVIDUAL COUNSELING , COPING WITH STRESS , MOTHERS OF THALASSEMIC CHILDREN |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082539000926 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สต่อวิธีการเผชิญความเครียดของมารดาที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย โดยมีสมมติฐานว่า (1) หลังการทดลองมารดาที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สจะมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบเผชิญหน้ากับปัญหา และแบบมุ่งแก้ปัญหาทางอ้อมสูงกว่าก่อนได้รับการปรึกษา และมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบมุ่งลดอารมณ์ตึงเครียดต่ำกว่าก่อนได้รับการปรึกษา (2) หลังการทดลองมารดาที่มีบุตรเป็นธาลัสซีเมียที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สจะมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบเผชิญหน้ากับปัญหา และแบบมุ่งแก้ปัญหาทางอ้อมสูงกว่ามารดาที่ไม่ได้รับการปรึกษา และจะมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบมุ่งลดอารมณ์ตึงเครียดต่ำกว่ามารดาที่ไม่ได้รับการปรึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-PosttestControl Group Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่พาบุตรซึ่งป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียมารับการรักษาที่คลีนิคกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช และได้รับคะแนนการเผชิญความเครียดแบบเผชิญหน้ากับปัญหา และแบบมุ่งแก้ปัญหาทางอ้อมต่ำกว่าค่ากลาง (mid point) และมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบมุ่งลดอารมณ์ตึงเครียดสูงกว่าค่ากลาง (mid point)สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง12 คน และกลุ่มควบคุม 12 คน กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนโรเจอร์สเป็นเวลา 3 สัปดาห์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 ชั่วโมง รวมเวลาที่มาร่วมการทดลองรายละประมาณ 6 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษา และเป็นผู้ให้ความรู้ด้วยตัวเองทั้งสองกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์วิธีการเผชิญความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที(t-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังการทดลองมารดาที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบเผชิญหน้ากับปัญหา และแบบมุ่งแก้ปัญหาทางอ้อมสูงกว่าก่อนได้รับการปรึกษา และมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบมุ่งลดอารมณ์ตึงเครียดต่ำกว่าก่อนได้รับการปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) หลังการทดลองมารดาที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบเผชิญหน้ากับปัญหา และแบบมุ่งแก้ปัญหาทางอ้อมสูงกว่ามารดาที่ไม่ได้รับการปรึกษาและมีคะแนนการเผชิญความเครียดแบบมุ่งลดอารมณ์ตึงเครียดต่ำกว่ามารดาที่ไม่ได้รับการปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
บรรณานุกรม | : |
จิว เชาว์ถาวร . (2539). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สต่อวิธีการเผชิญความเครียดของมารดาที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. จิว เชาว์ถาวร . 2539. "ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สต่อวิธีการเผชิญความเครียดของมารดาที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. จิว เชาว์ถาวร . "ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สต่อวิธีการเผชิญความเครียดของมารดาที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2539. Print. จิว เชาว์ถาวร . ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลตามแนวโรเจอร์สต่อวิธีการเผชิญความเครียดของมารดาที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2539.
|