ชื่อเรื่อง | : | การใช้ภาษาในคำปราศรัยหาเสียง |
นักวิจัย | : | จันทิมา เอียมานนท์ |
คำค้น | : | LANGUAGE , SPEECH |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2538 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082538000694 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | งานวิจัยเรื่องนี้ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาการใช้ภาษาในคำปราศรัยหาเสียงที่แสดงการโน้มน้าวชักจูงใจ ข้อมูลที่ศึกษาได้เก็บรวบรวมจากปราศรัยหาเสียงของพรรคการเมืองทุกพรรค ณ อาคารนิมิตบุตรสนามกีฬาแห่งชาติ ในคราวการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่13 กันยายน พุทธศักราช 2535 ผลของการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ปราศรัยใช้ถ้อยคำสำนวน ซึ่งอาจเป็นคำกลุ่มคำวลีและประโยค ใช้การเปรียบเทียบ และใช้อัญพจน์ในการปราศรัยหาเสียงเพื่อโน้มน้าวชักจูงใจ การใช้ถ้อยคำสำนวน แบ่งตามเจตนาในการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวชักจูงใจได้เป็น 5 ประการ ได้แก่ การใช้ถ้อยคำสำนวนแสดงความน่าเชื่อถือการใช้ถ้อยคำสำนวนแสดงความสำคัญของผู้ฟัง การใช้ถ้อยคำสำนวนเร้าความสนใจการใช้ถ้อยคำสำนวนแสดงการขอร้องอ้อนวอน และการใช้ถ้อยสำนวนแสดงการขอบคุณ การเปรียบเทียบ แบ่งออกเป็น 2 ประการ ได้แก่ การเปรียบเทียบและการเปรียบต่างการเปรียบเหมือนจะเป็นการเปรียบกับบุคคล สัตว์หรือสิ่งชั่วร้ายเหตุการณ์หรือสถานการณ์ และสถานที่โดยใช้ถ้อยคำสำนวนแสดงการเปรียบเทียบส่วนการเปรียบต่างจะเป็นการเปรียบสิ่งเดียวกันที่มีความแตกต่างกันทางด้านสภาพและจำนวน โดยใช้ถ้อยคำคำนวนที่แสดงความขัดแย้งและการใช้ตัวเลขที่แสดงความแตกต่างเพื่อให้สิ่งที่กล่าวถึงชัดเจนและเข้าใจง่าย การใช้อัญพจน์ แบ่งออกเป็น 5 ประการ ได้แก่ การใช้คำขวัญ การใช้สำนวน คำพังเพย การใช้คำกล่าว การใช้คำประพันธ์ และการใช้ข้อความในเอกสารเพื่อให้คำปราศรัยหาเสียงน่าสนใจและน่าเชื่อถือ |
บรรณานุกรม | : |
จันทิมา เอียมานนท์ . (2538). การใช้ภาษาในคำปราศรัยหาเสียง.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. จันทิมา เอียมานนท์ . 2538. "การใช้ภาษาในคำปราศรัยหาเสียง".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. จันทิมา เอียมานนท์ . "การใช้ภาษาในคำปราศรัยหาเสียง."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2538. Print. จันทิมา เอียมานนท์ . การใช้ภาษาในคำปราศรัยหาเสียง. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2538.
|