ชื่อเรื่อง | : | การสร้างไข่มุกแบบใส่นิวเคลียสและไม่ใส่นิวเคลียสด้วยวิธีปลูกถ่ายแมนเทิลในหอยมุกน้ำจืด Hyriopsis (Limnoscapha) myersiana (Lea, 1856)และ Chamberlainia hainesiana (Lea,1856) |
นักวิจัย | : | ประสุข โฆษวิฑิตกุล |
คำค้น | : | FRESHWATER PEARL MUSSELS , MANTLE , TRANSPLANTATION |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2537 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082537000940 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ศึกษาการสร้างไข่มุกของหอยมุกน้ำจืด Chamberlainia hainesianaและ Hyriopsis (Limnoscapha) myersiana แบบใส่นิวเคลียสและไม่ใส่นิวเคลียสโดยปลูกถ่ายเนื้อเยื่อแมนเทิลเข้าไประหว่างเนื้อเยื่อแมนเทิลของหอยตัวรับบริเวณด้านท้ายของหอยภายในชนิดเดียวกันและต่างชนิดกัน พบว่าถุงไข่มุกจะถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์โดยใช้เวลาน้อยกว่า 15 วัน ในหอยC. hainesiana พบว่าวิธีปลูกถ่ายเนื้อเยื่อบุผิวชั้นนอกของแมนเทิลพร้อมกับนิวเคลียสแบบ allograft (CON) จะมีเปอร์เซ็นต์การเกิดถุงไข่มุกสูงที่สุด (83.26%) และวิธีที่ปลูกถ่ายเนื้อเยื่อแมนเทิลทั้งชิ้นแบบallograft (CM) มีเปอร์เซ็นต์การเกิดถุงไข่มุกต่ำที่สุด (62.22%) ในหอย H. (L.) myersiana พบว่าวิธีปลูกถ่ายเนื้อเยื่อแมนเทิลทั้งชิ้นแบบ allograft (HM) มีเปอร์เซ็นต์การเกิดถุงไข่มุกสูงสุด (79.37%) และวิธี ที่ปลูกถ่ายเนื้อเยื่อบุผิวชั้นนอกของแมนเทิลแบบ xenograft (HOX) มีเปอร์เซ็นต์การเกิดถุงไข่มุกต่ำที่สุด (70.97%) ถุงไข่มุกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่ออายุของถุงไข่มุกมากขึ้น ลักษณะของถุงไข่มุกเมื่อย้อมด้วยสีHaematoxylin-Eosin จะเห็นเป็นเนื้อเยื่อชั้นเดียวติดสีน้ำเงินเข้มเซลล์มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ติดสีน้ำเงินไซโทพลาซึมติดสีแดง มี vacuoleขนาดใหญ่ติดสีน้ำเงินและเมื่อย้อมด้วยสี Alizalin red S จะติดสีแดงเนื่องจากมีการสะสมแคลเซียมอยู่ภายในเซลล์ พบช่องว่างระหว่างถุงไข่มุกกับนิวเคลียสที่ปลูกถ่ายเข้าไปซึ่งเป็นที่อยู่ของเหลวที่เรียกว่าสารจากถุงไข่มุก (pearl sac fluid) สารดังกล่าวถูกขับออกมาจากเซลล์ของถุงไข่มุกเพื่อนำสารดังกล่าวมาสร้างเป็นผลึกแคลเซียมคาร์บอเนต และเป็นไข่มุกแบบไม่ใส่นิวเคลียสในที่สุด ไข่มุกแบบใส่นิวเคลียสนั้นพบว่าสารไข่มุกจะถูกขับออกมาหุ้มนิวเคลียสและสร้างเป็นไข่มุกล้อมรอบ ระยะเวลาในการสะสมสารมุกวิธี xenograft จะเร็วกว่าวิธี allograft การเรียงตัวของผลึกแคลเซียมคาร์บอเนตในระยะแรกจะเป็นแบบแคลไซด์ซึ่งมีลักษณะผลึก เป็นรูปหลายเหลี่ยม (Polygonal) ต่อมาจะมีการเรียงเป็นแบบอาราโกไนต์ซึ่งมีลักษณะผลึกเป็น รูปหกเหลี่ยม (hexagonal) ผลึกลักษณะดังกล่าวจะทำให้ผิวของไข่มุกมีความมันวาวและมีสีสันสวยงาม ไข่มุกที่ได้จะมีสีตามชั้นนาเครียสของหอยที่นำเนื้อเยื่อแมนเทิลมาปลูกถ่าย |
บรรณานุกรม | : |
ประสุข โฆษวิฑิตกุล . (2537). การสร้างไข่มุกแบบใส่นิวเคลียสและไม่ใส่นิวเคลียสด้วยวิธีปลูกถ่ายแมนเทิลในหอยมุกน้ำจืด Hyriopsis (Limnoscapha) myersiana (Lea, 1856)และ Chamberlainia hainesiana (Lea,1856).
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ประสุข โฆษวิฑิตกุล . 2537. "การสร้างไข่มุกแบบใส่นิวเคลียสและไม่ใส่นิวเคลียสด้วยวิธีปลูกถ่ายแมนเทิลในหอยมุกน้ำจืด Hyriopsis (Limnoscapha) myersiana (Lea, 1856)และ Chamberlainia hainesiana (Lea,1856)".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ประสุข โฆษวิฑิตกุล . "การสร้างไข่มุกแบบใส่นิวเคลียสและไม่ใส่นิวเคลียสด้วยวิธีปลูกถ่ายแมนเทิลในหอยมุกน้ำจืด Hyriopsis (Limnoscapha) myersiana (Lea, 1856)และ Chamberlainia hainesiana (Lea,1856)."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2537. Print. ประสุข โฆษวิฑิตกุล . การสร้างไข่มุกแบบใส่นิวเคลียสและไม่ใส่นิวเคลียสด้วยวิธีปลูกถ่ายแมนเทิลในหอยมุกน้ำจืด Hyriopsis (Limnoscapha) myersiana (Lea, 1856)และ Chamberlainia hainesiana (Lea,1856). กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2537.
|