ชื่อเรื่อง | : | ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิในการรับรู้และสิทธส่วนบุคคล และ อิทธิพลของภาพลักษณ์ต่อการประเมินเหตุการณ์ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล |
นักวิจัย | : | กมลา สุวรรณธรรมา |
คำค้น | : | RIGHT OF PRIVACY , RIGHT OF INFORMATION , NEWSPAPER |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2537 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082537000107 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้ ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของคนทั่วไป และของบุคคลสาธารณะ และความคิดเห็นต่อการปฎิบัติหน้า ที่ของหนังสือพิมพ์เพื่อสนองสิทธิในการรับรู้และสิทธิส่วนบุคคล รวมทั้งทดสอบอิทธิพลของภาพลักษณ์ต่อการประเมินเหตุการณ์ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าข้อมูลส่วนตัวในเรื่องเกี่ยว กับสุขภาพ ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ เรื่องราวส่วนตัวต่าง ๆ มีความเหมาะสมในการปกปิด หรือเปิดเผยแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นแต่ในเรื่องเกี่ยวกับคดีความเห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะเปิดเผยตัวต่อผู้เกี่ยวข้อง หรือต่อสาธารณะชนได้ นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐและดารามีขอบเขตข้อมูลส่วนตัวน้อยที่สุด ในขณะที่ประชาชนมีขอบเขตข้อมูลส่วนตัวมากที่ สุด โดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ P<.05 เรื่องที่สามารถเปิดเผยได้มากที่สุดคือเรื่องการเงิน อันดับสองคือสุขภาพ อันดับสามคือพฤติกรรมประหลาดและประวัติส่วนตัว และเรื่องที่ควรเปิดเผยน้อยที่สุดคือ เรื่องความรัก โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ P<.05 ในการประเมินผลการทำงานของหนังสือพิมพ์ ผู้ตอบแบบสอบถามเห็น ว่าการปฎิบัติหน้าที่และทักษะของหนังสือพิมพ์เป็นไปในทางบวก ส่วนการละเมิด สิทธส่วนบุคคลเป็นไปในทางลบ และผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์มีอิทธิพลการประเมินเหตุการณ์และละ เมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยถ้าเป็นเหตุการณ์ของบุคคลที่ชอบให้คะแนนจริยธรรมใน การหาข่าวและความยุติธรรมต่อผู้ตกเป็นข่าวน้อยกว่าเครื่องของบุคคลที่ไม่ชอบอย่างมีนัยสำคัญที่ P<.05 และ P<.01 ตามลำดับ และถ้าหนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวเป็นหนังสือพิมพ์ที่ชอบ จะให้คะแนนจริยธรรมและความยุติธรรม สูงกว่าหนังสือพิมพ์ที่ไม่ชอบ อย่างมีนัยสำคัญที่ P<.05 และ P<.01 ตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
กมลา สุวรรณธรรมา . (2537). ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิในการรับรู้และสิทธส่วนบุคคล และ อิทธิพลของภาพลักษณ์ต่อการประเมินเหตุการณ์ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. กมลา สุวรรณธรรมา . 2537. "ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิในการรับรู้และสิทธส่วนบุคคล และ อิทธิพลของภาพลักษณ์ต่อการประเมินเหตุการณ์ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. กมลา สุวรรณธรรมา . "ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิในการรับรู้และสิทธส่วนบุคคล และ อิทธิพลของภาพลักษณ์ต่อการประเมินเหตุการณ์ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2537. Print. กมลา สุวรรณธรรมา . ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิในการรับรู้และสิทธส่วนบุคคล และ อิทธิพลของภาพลักษณ์ต่อการประเมินเหตุการณ์ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2537.
|