ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาสภาวะปัจจุบันและแนวโน้มของการใช้ระบบข้อสนเทศทางพาณิชยนาวี : รายงานการวิจัย |
นักวิจัย | : | อัจฉรา จันทร์ฉาย , จินตนา บุญบงการ , สุพัตรา บุญมาก |
คำค้น | : | ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ--พาณิชยนาวี , พาณิชยนาวี , ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการบัญชี |
ปีพิมพ์ | : | 2534 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/612 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การศึกษาสภาวะปัจจุบันและแนวโน้มของการใช้ระบบข้อสนเทศทางพาณิชยนาวี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบสถานภาพปัจจุบันของการให้คอมพิวเตอร์และระบบข้อสนเทศทางพาณิชยนาวี ศึกษาแนวโน้มการนำคอมพิวเตอร์และระบบข้อสนเทศในอนาคต อีกทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ การศึกษาได้ศึกษาแบบจากสัมภาษณ์ลึก (Depth Interview) จากดูงานและการออกแบบสอบถาม มีธุรกิจตอบแบบสอบถาม 106 ราย ประกอบด้วยบริษัทเดินเรือ ตัวแทนจัดการขนส่ง นายหน้าบริษัทเรือ ตัวแทนเดินเรือ ผลปรากฏว่ามีธุรกิจร้อยละ 40.6 ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการ ใช้ระบบ Word processing ร้อยละ 62.8 ส่วนระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้มีเพียงร้อยละ 9.52 ที่ใช้ระบบมินิคอมพิวเตอร์ มีใช้คอมพิวเตอร์ประเภทไมโครคอมพิวเตอร์ร้อยละ 36.19 นโยบายการซื้อคอมพิวเตอร์ไม่ได้เจาะจงว่าจะซื้อคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ในแต่ละปีพิจารณาจากการให้บริการหลังขาย ราคาถูก และประสิทธิภาพ ส่วนงานที่นำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ส่วนใหญ่เป็นงานด้านการเงินและบัญชี งานบริหาร งานด้านการตลาด ส่วนระบบ Data Exchange และ Data Communication นั้นมีไม่กี่กิจการเท่านั้นที่ใช้ระบบนี้ส่วนบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นผู้ปฏิบัติการ รองลงมาหัวหน้าแผนก มีการฝึกอบรมภายในให้พนักงานด้านความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ แนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์ในอนาคต มีแผนที่จะจัดหาภายใน 1-2 ปี ข้างหน้าร้อยละ 51.72% ส่วนสาเหตุที่ยังไม่ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้เพราะยังไม่มีความจำเป็น และธุรกิจที่จะนำเอาระบบ Network ไปใช้เพียงร้อยละ 20 ส่วนระบบ Software ที่จะนำไปใช้คือระบบบัญชี ระบบระวางเรือ ระบบเงินเดือนและค่าจ้าง และระบบ Inventory ปัญหาที่พบจากการศึกษาพบว่าระบบข้อสนเทศทางพาณิชยนาวีที่นำไปใช้ ยังไม่เป็นระบบ Integrated Management Information System ภายในองค์การและระหว่างองค์การในธุรกิจพาณิชยนาวี การขาดแคลนบุคลากร ดังนั้นการพัฒนาระบบควรให้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันเพื่อพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งสถาบันการศึกษา ควรรเร่งผลิตบุคลากทางด้านนี้ เพื่อสนองต่อความต้องการของธุรกิจได้ |
บรรณานุกรม | : |
อัจฉรา จันทร์ฉาย , จินตนา บุญบงการ , สุพัตรา บุญมาก . (2534). การศึกษาสภาวะปัจจุบันและแนวโน้มของการใช้ระบบข้อสนเทศทางพาณิชยนาวี : รายงานการวิจัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัจฉรา จันทร์ฉาย , จินตนา บุญบงการ , สุพัตรา บุญมาก . 2534. "การศึกษาสภาวะปัจจุบันและแนวโน้มของการใช้ระบบข้อสนเทศทางพาณิชยนาวี : รายงานการวิจัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัจฉรา จันทร์ฉาย , จินตนา บุญบงการ , สุพัตรา บุญมาก . "การศึกษาสภาวะปัจจุบันและแนวโน้มของการใช้ระบบข้อสนเทศทางพาณิชยนาวี : รายงานการวิจัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534. Print. อัจฉรา จันทร์ฉาย , จินตนา บุญบงการ , สุพัตรา บุญมาก . การศึกษาสภาวะปัจจุบันและแนวโน้มของการใช้ระบบข้อสนเทศทางพาณิชยนาวี : รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2534.
|