ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาโครงข่ายการขนส่งที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเทศบาลเมืองสระบุรี |
นักวิจัย | : | อาษา ทองธรรมชาติ |
คำค้น | : | TRANSPORT NETWORK , INFLUENCING , SARABURI MUNICIPALITY |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2537 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082537000027 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาเพื่อปรับปรุงให้เทศบาลเมือง สระบุรีเป็นชุมชนศูนย์กลางในการให้บริการด้านการค้า-บริการ และที่อยู่อาศัยสำหรับ รองรับการเติบโตจากการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเกิดขึ้นตามแผนพัฒนาภาคกลางตอนบน ผลการวิเคราะห์สรุปว่า เทศบาลเมืองสระบุรีเป็นชุมทางเชื่อมโยงการขนส่งทางบกระหว่างภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ และมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกและอินโดจีนได้ นอกจากนี้พื้นที่ภายในรัศมีประมาณ 30 กิโลเมตร ยังมีแหล่งอุตสาหกรรมที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วตั้งอยู่ สภาพการเติบโตทางกายภาพของเทศบาลเมืองสระบุรี นั้นเกิดจากความได้เปรียบใน ทำเลที่ตั้ง และสภาพการใช้ที่ดินเติบโตไปตามโครงข่ายถนนมากที่สุด โดยมีพื้นที่ปลูกสร้างขยายสายหลักสำคัญซึ่ง ได้แก่ ถนนพหลโยธินที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตของเมืองมากที่สุด รองลงมาคือ ถนนสุดบรรทัด พิชัยรณรงค์ สงคราม มิตรภาพ และทางเลี่ยงเมือง ส่วนราคาที่ดินพบว่ามีความสัมพันธ์กับโครงข่ายถนน และยังพบว่าธุรกิจการค้าของเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว กิจกรรมทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ อย่าง เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ธนาคาร สถาบันการเงิน และการประกันภัย เป็นต้น โดยพบว่ากิจการเหล่านี้เติบโตควบคู่ไปกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และรายได้ของประชากรในจังหวัด ซึ่งการเติบโตของเมืองดังกล่าวก่อให้เกิดแรงดึงดูดประชากรต่างถิ่นอพยพให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานใน เขตเทศบาลเมืองสระบุรีและบริเวณที่สามารถเชื่อมโยงกับย่านอุตสาหกรรมได้สะดวก ทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในการศึกษานี้ ได้เสนอข้อแนะนำไว้ 3 ระดับคือ ระดับภาค เสนอให้มีการตัดเส้นทางรถยนต์เชื่อมโยงระหว่างสระบุรีกับพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยตรง และเร่งรัดการพัฒนาเส้นทางในแนวตะวันออกตะวันตกของภาคกลางตอนบนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมโยงตามนโยบายของรัฐ และระดับจัง หวัด เสนอแนะให้มีการปรับปรุง/ตัดเส้นทางถนนเชื่อมโยงระหว่างชุมชนสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่รอบเทศบาลเมืองสระบุรีให้สามารถติดต่อกันได้โดยตรง ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงการเชื่อมโยงผ่านเทศบาลเมืองสระบุรี พร้อมกับเสนอแนะให้มีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรับส่งผู้โดยสารทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางน้ำจากย่านชุมชนรอบนอกและย่านอุตสาหกรรมที่เข้ามาใช้บริการในเมืองเทศบาลเมืองสระบุรี และในระดับเมือง เสนอแนะให้มีการตัดเส้นทางใหม่ ๆ และพัฒนาบริการสาธารณะ เข้าไปสู่บริเวณที่ว่างที่อยู่ในเขตเทศบาลเพื่อเป็นการชี้นำให้เกิดการพัฒนาที่ว่างดัง กล่าว และเสนอผังชี้นำการใช้ที่ดินของชุมชนเมืองสระบุรีเพื่อให้รองรับประชากรและ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นและเสนอแนะให้มีศูนย์กลางย่อย 2 แห่ง สำหรับรองรับการบริการให้แก่ประชาชนชานเมือง และชุมชนรอบนอกเพื่อให้มีหน้าที่ในการแบ่งภาระแก่ย่านใจกลางเมืองในอนาคต พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการควบคุมสภาพการใช้ที่ดินเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น จึงคาดว่าข้อเสนอแนะดังกล่าวจะเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาเทศบาลเมืองสระบุรีได้อย่างยั้งยืนตลอดไป |
บรรณานุกรม | : |
อาษา ทองธรรมชาติ . (2537). การศึกษาโครงข่ายการขนส่งที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเทศบาลเมืองสระบุรี.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. อาษา ทองธรรมชาติ . 2537. "การศึกษาโครงข่ายการขนส่งที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเทศบาลเมืองสระบุรี".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. อาษา ทองธรรมชาติ . "การศึกษาโครงข่ายการขนส่งที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเทศบาลเมืองสระบุรี."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2537. Print. อาษา ทองธรรมชาติ . การศึกษาโครงข่ายการขนส่งที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเทศบาลเมืองสระบุรี. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2537.
|