ชื่อเรื่อง | : | ความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม:กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง |
นักวิจัย | : | วิภาวรรณ สัตตบุษย์สุทธิ |
คำค้น | : | HOUSING DEMAND , WORKERS , INDUSTRIAL ESTATE |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2537 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082537000015 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ในอนาคตเป็นที่คาดหมายกันว่าประเทศไทยจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุต สาหกรรมใหม่หรือ NEWLY INDUSTRIALIZED COUNTRIES (NICS) การพัฒนาใน ภาคอุตสาหกรรม มีนิคมอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 21 นิคม และมีนิคมฯ ที่ อยู่ระหว่างเตรียมการอีก 40 กว่านิคม การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมย่อมทำให้เกิดการหลั่งไหลของแรงงานจำนวนมากเพื่อมาหาทำงานในแหล่งงาน ซึ่งจะมีทั้งแรงงานในท้องถิ่นและแรงงานอพยพ ปัญหาที่ตามมาคือความต้องการที่อยู่อาศัย การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาปริมารความต้องการที่อยู่อาศัย ทั้งใน รูปแบบเช่าและเช่าซื้อและเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการที่อยู่อาศัย ตลอดจนศึกษาระดับรายได้และความสามารถในการจ่ายค่าที่อยู่อาศัยและคุณภาพชี วิตของผู้ที่งานในนิคมอุตสาหกรรม โดยการจำลองแบบปัญหาของผู้ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ผลการศึกษาพบว่าปริมาณความต้องการที่อยู่อาศัยเบื้องต้น (HousingNeeds) ของกลุ่มผู้ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม เป็นผู้ที่มีความต้องการซื้อบ้านเป็น ของตนเองร้อยละ 52.3 ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีความสามารถในการจ่ายค่าบ้านมากกว่า 3,000 บาท/เดือน มีร้อยละ 18.8 หรือประมาณ 8,679 หน่วย และ พบว่าเป็นผู้ที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์ในการครอบครองที่อยู่อาศัย (Effective Demand) โดยมีความสามารถในการจ่ายค่าที่ อยู่อาศัยประเภทอาคารชุด มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 136 หน่วยหรือประมาณ 0.30 %ของจำนวนแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมสำหรับปริมาณความต้องการประเภทเช่าบ้านในเบื้องต้น มีร้อยละ 22 ของผู้ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม และเมื่อวิเคราะห์ ถึงความต้องการเช่าบ้านที่แท้จริง คือผู้ที่ต้องการเปลี่ยนหรือย้ายบ้านเช่าใหม่ พบว่า มีประมาณร้อยละ 10 หรือมีประมาณ 4,644 หน่วย สำหรับผู้ที่ต้องการจะซื้อบ้านพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดที่ทำให้เกิดความต้องการซื้อบ้าน คือ การเป็นผู้ที่มี เงินเก็บ/เงินออมไม่ใช่ความสามารถในการจ่ายค่าบ้านต่อเดือน และพบว่าปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดความต้องการเช่าบ้านคือการเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเช่าของผู้ ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม และยังพบว่ารายได้ต่อครอบครัวของผู้ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมเขตทั่วไปเฉลี่ยเดือนละ 9,330 บาท สูงกว่ารายได้ต่อครอบครัวของผู้ ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมเขตส่งออก ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 7,708 บาท |
บรรณานุกรม | : |
วิภาวรรณ สัตตบุษย์สุทธิ . (2537). ความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม:กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. วิภาวรรณ สัตตบุษย์สุทธิ . 2537. "ความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม:กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. วิภาวรรณ สัตตบุษย์สุทธิ . "ความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม:กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2537. Print. วิภาวรรณ สัตตบุษย์สุทธิ . ความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม:กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2537.
|