ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยเกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจสอบที่มีความสัมพันธ์กับความมีประสิทธิผลในการกำกับดูแลกิจการ : มุมมองของผู้ตรวจสอบภายใน |
นักวิจัย | : | ศนิพร จันทรสถาพร |
คำค้น | : | การตรวจสอบภายใน , การสอบบัญชี , คณะกรรมการสอบบัญชี |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ประจิตร หาวัตร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741737912 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/587 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจสอบที่มีความสัมพันธ์กับความมีประสิทธิผลในการกำกับดูแลกิจการและศึกษาความคิดเห็นของหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายในเกี่ยวกับระดับความมีประสิทธิผลของคณะกรรมการตรวจสอบในหน้าที่การกำกับดูแลกิจการ โดยมุ่งศึกษาความมีประสิทธิผลใน 3 หน้าที่หลักที่กำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเป็นหน้าที่ที่ปฏิบัติตามสากลทั่วไปคือ (1) หน้าที่ในการดูแลกระบวนการจัดทำรายงานทางการเงินของบริษัทให้มีความถูกต้อง (2) หน้าที่ในการดูแลระบบการควบคุมภายในของบริษัทให้มีความน่าเชื่อถือ (3) หน้าที่ในการดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และความมีประสิทธิผลในภาพรวม กลุ่มตัวอย่างคือหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายในบริษัทที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 300 ท่าน สุ่มตัวอย่างโดยวิธี Quota Sampling ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ค่าความเที่ยงของเนื้อหา .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัยและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายในมีความเห็นว่าคณะกรรมการตรวจสอบ ชุดปัจจุบันของบริษัทสามารถปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลกิจการซึ่งเป็นหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทได้บรรลุผลสำเร็จ และคณะกรรมการตรวจสอบมีความสำคัญต่อการดำเนินงานของบริษัทมากกว่าการจัดตั้งเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้คณะกรรมการตรวจสอบมีประสิทธิผลในการกำกับดูแลกิจการแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัยใหญ่คือ (1) ปัจจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติเฉพาะตัวของคณะกรรมการตรวจสอบ ได้แก่ ปัจจัยคุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจสอบ ปัจจัยความรู้ความเชี่ยวชาญ และปัจจัยบทบาทการเป็นผู้ประสานงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (2) ปัจจัยด้านอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากองค์กร ได้แก่ ปัจจัยอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ และปัจจัยการสนับสนุนฝ่ายตรวจสอบภายในโดยพิจารณาด้านอำนาจการให้คุณให้โทษ เมื่อนำปัจจัยมาทดสอบความสัมพันธ์กับตัวแปรตามที่ระดับนัยสำคัญ .05 พบว่าทุกปัจจัยล้วนมีความสำคัญในการอธิบายความมีประสิทธิผลในหน้าที่การกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมีประสิทธิผลของคณะกรรมการตรวจสอบคือ ปัจจัยอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบปัจจัย บทบาทการเป็นผู้ประสานงานของคณะกรรมการตรวจสอบ และปัจจัยการสนับสนุนฝ่ายตรวจสอบภายใน |
บรรณานุกรม | : |
ศนิพร จันทรสถาพร . (2546). ปัจจัยเกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจสอบที่มีความสัมพันธ์กับความมีประสิทธิผลในการกำกับดูแลกิจการ : มุมมองของผู้ตรวจสอบภายใน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศนิพร จันทรสถาพร . 2546. "ปัจจัยเกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจสอบที่มีความสัมพันธ์กับความมีประสิทธิผลในการกำกับดูแลกิจการ : มุมมองของผู้ตรวจสอบภายใน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศนิพร จันทรสถาพร . "ปัจจัยเกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจสอบที่มีความสัมพันธ์กับความมีประสิทธิผลในการกำกับดูแลกิจการ : มุมมองของผู้ตรวจสอบภายใน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ศนิพร จันทรสถาพร . ปัจจัยเกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจสอบที่มีความสัมพันธ์กับความมีประสิทธิผลในการกำกับดูแลกิจการ : มุมมองของผู้ตรวจสอบภายใน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|