ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการคุ้มครอง ยูทิลิที โมเดล ในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | กัลยารัตน์ ชินศรีวงศ์กูล |
คำค้น | : | PATENT , UTILITY MODEL , PETTY PATENT , UTILITY INNOVATION , PRODUCT-DESIGN |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2535 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082535000557 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาถึงความเหมาะสมของการให้ความคุ้มครองยูทิลิที โมเดลในประเทศไทย โดยการมุ่งศึกษาถึงนโยบายหลักการ เหตุผล ตลอดจนลักษณะสำคัญของกฎหมายยูทิลิที โมเดลในต่างประเทศ ผลของการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์ที่ในบางประเทศได้บัญญัติกฎหมายยูทิลิที โมเดลขึ้นมา คือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปภายในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยการกระตุ้น และสนับสนุนให้ชนในชาติได้พยายามคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นเอง กฎหมายยูทิลิทีโมเดลเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองแก่การประดิษฐ์ที่ไม่มีระดับขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นเพียงพอที่จะขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตรได้เนื่องจาก เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นรวมถึงการประดิษฐ์ที่มีช่วงเวลาในทางการค้าสั้นด้วย ซึ่งการประดิษฐ์เหล่านี้โดยส่วนใหญ่เป็นการประดิษฐ์คิดค้นของชนในชาติ หลังจากที่ประเทศดังกล่าวได้บัญญัติกฎหมายยูทิลิที โมเดลแล้ว ผลปรากฏว่าคำของจดทะเบียนยูทิลินี โมเดลมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี และในจำนวนของคำขอดังกล่าวเป็นการประดิษฐ์ของชนในชาติแทบทั้งสิ้น กฎหมายดังกล่าวจึงช่วยให้เทคโนโลยีในประเทศพัฒนามากขึ้น และทำให้เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศพัฒนารวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ กฎหมายยูทิลิที โมเดล จึงเป็นกฎหมายที่มีความเหมาะสมต่อประเทศไทยในสภาวะการณ์ปัจจุบัน กล่าวคือ กฎหมายยูทิลิที โมเดลจะกระต้นและสนับสนุนให้คนไทยคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้นและทำให้คนไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่ใหม่ ๆ ขึ้นได้เองนอกจากนี้กฎหมายยูทิลิที โมเดลยังส่งเสริมให้มีการลงทุนในประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมของประเทศได้พัฒนาก้างไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว กฎหมายฉบับดังกล่าวจึงมีลักษณะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐดังที่ได้ระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงเสนอให้มีการบัญญัติกฎหมายยูทิลิที โมเดลในประเทศไทยซึ่งควรจะประกอบด้วยหลักการที่สำคัญดังต่อไปนี้ คือ 1. สิ่งที่ได้รับความคุ้มครองควรกำหนดขอบเขตเหมือนดังเช่นกฎหมายสิทธิบัตร 2. ในการพิจารณารับจดทะเบียนควรประกอบด้วยหลักเกณฑ์ คือ เป็นการประดิษฐ์ที่ใหม่มีขั้นการประดิษฐ์หรือไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายมากแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น และใช้ประโยชน์ได้ 3. ระยะเวลาในการให้ความคุ้มครองควรสั้นกว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์แต่ยาวกว่าสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 4. กระบวนและวิธีการในการพิจารณารับจดทะเบียนยูทิลิที โมเดลควรใช้ระบบการจดทะเบียน |
บรรณานุกรม | : |
กัลยารัตน์ ชินศรีวงศ์กูล . (2535). แนวทางการคุ้มครอง ยูทิลิที โมเดล ในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. กัลยารัตน์ ชินศรีวงศ์กูล . 2535. "แนวทางการคุ้มครอง ยูทิลิที โมเดล ในประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. กัลยารัตน์ ชินศรีวงศ์กูล . "แนวทางการคุ้มครอง ยูทิลิที โมเดล ในประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2535. Print. กัลยารัตน์ ชินศรีวงศ์กูล . แนวทางการคุ้มครอง ยูทิลิที โมเดล ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2535.
|