ชื่อเรื่อง | : | ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคกลาง : การวิเคราะห์เส้นทาง |
นักวิจัย | : | วรรณี แกมเกตุ |
คำค้น | : | CAUSAL RELATIONSHIPS , SCHOOL CHOICE , PATH ANALYSIS |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2535 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082535000193 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง และทดสอบตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรเกี่ยวกับภูมิหลังของผู้ปกครองและตัวแปรเกี่ยวกับนักเรียน ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคกลาง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2534 ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีโรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งอยู่ในภาคกลางจำนวน 417 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมุติฐานยังไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P<0.5) มีลักษณะดังนี้ 2.1 ตัวแปรที่มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองคือ รายได้ของผู้ปกครอง ความคาดหวังของผู้ปกครองเกี่ยวกับระดับการศึกษาสูงสุดของบุตร ระดับผลการเรียนเดิมของบุตร และสถานศึกษาที่บุตรต้องการเข้าเรียน 2.2 ตัวแปรที่มีผลกระทบทางตรงต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครอง คือ ความคาดหวังเกี่ยวกับอรรถประโยชน์ของสถานศึกษา 2.3 ตัวแปรที่มีผลกระทบทางอ้อมต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครอง คือ ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ขนาดพื้นที่ถือครองที่มีกรรมสิทธิ์ ความต้องการศึกษาต่อชั้นสูงสุดของบุตร เจตคติของผู้ปกครองต่อการศึกษาต่อ จำนวนบุตรที่เรียนสูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ ความต้องการใช้แรงงานจากบุตร และขนาดครอบครัว 3. ตัวแปรที่มีประมาณผลกระทบทางตรงต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองสูงสุด คือ ความคาดหวังเกี่ยวกับอรรถประโยชน์ของสถานศึกษา (.9565) รองลงมาคือ สถานศึกษาที่บุตรต้องการเข้าเรียน(.7314) 4. ตัวแปรที่มีปริมาณผลกระทบทางอ้อมต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองสูงสุด คือ รายได้ของผู้ปกครอง (.9784) รองลงมาคือระดับผลการเรียนเดิมของบุตร (.7800) 5. ตัวแปรที่มีปริมาณผลกระทบรวมต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองสูงสุด คือ รายได้ของผู้ปกครอง (1.6372) รองลงมาคือความคาดหวังของผู้ปกครองเกี่ยวกับระดับการศึกษาสูงสุดของบุตร (1.1382)ส่วนตัวแปรที่มีปริมาณผลกระทบรวมต่ำสุด คือ ขนาดครอบครัว (-.0650) |
บรรณานุกรม | : |
วรรณี แกมเกตุ . (2535). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคกลาง : การวิเคราะห์เส้นทาง.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. วรรณี แกมเกตุ . 2535. "ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคกลาง : การวิเคราะห์เส้นทาง".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. วรรณี แกมเกตุ . "ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคกลาง : การวิเคราะห์เส้นทาง."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2535. Print. วรรณี แกมเกตุ . ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคกลาง : การวิเคราะห์เส้นทาง. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2535.
|