ชื่อเรื่อง | : | การพัฒารูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริง จากการเรียนอิเล็กทรอนิส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา |
นักวิจัย | : | ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, 2520- |
คำค้น | : | การเรียนการสอนผ่านเว็บ , การศึกษาขั้นอุดมศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ใจทิพย์ ณ สงขลา , ศิริชัย กาญจนวาสี |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745310832 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/549 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริงจากการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา (2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริงจากการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา และ (3) นำเสนอรูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริงจากการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้เชียวชาญ จำนวน 5 คน (2) ผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนด้วยการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 14 คน ผู้เรียนระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 โครงการขยายโอกาสอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 45 คน ผู้สอนประจำรายวิชา 1 คน ติวเตอร์ จำนวน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 1 คน (3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการวัดประเมินผลตามสภาพจริงฯ ประกอบด้วยรายละเอียด จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ องค์ประกอบของการวัดประเมินตามสภาพจริง และขั้นตอนการวัดประเมินตามสภาพจริง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.1 องค์ประกอบของการวัดประเมินตามสภาพจริงฯ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์การวัดประเมิน ตัวชี้วัดการวัดประเมิน เกณฑ์การวัดประเมิน เครื่องมือการวัดประเมิน และบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวัดประเมิน 1.2 ขั้นตอนการวัดประเมินตามสภาพจริง ประกอบด้วยขั้นตอน จำนวน 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1)ขั้นการเตรียมความพร้อมสำหรับการวัดประเมินตามสภาพจริงและการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ (2) ขั้นการออกแบบกิจกรรมการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งเสริมการวัดประเมินตามสภาพจริง (3) ขั้นการปฏิบัติงาน และแลกเปลี่ยนข้อความรู้จากการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ (4) ขั้นการวัดประเมินผลการปฏิบัติงานตามสภาพจริงจากการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ และ (5) ขั้นการสรุปความรู้จากการปฏิบัติงานตามสภาพจริงเพื่อเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกรับทราบ 2. ผลจากการใช้รูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริงฯ ที่พัฒนาขึ้น โดยทดลองใช้รูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริง พบว่า ผู้เรียนมีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
บรรณานุกรม | : |
ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, 2520- . (2547). การพัฒารูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริง จากการเรียนอิเล็กทรอนิส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, 2520- . 2547. "การพัฒารูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริง จากการเรียนอิเล็กทรอนิส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, 2520- . "การพัฒารูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริง จากการเรียนอิเล็กทรอนิส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, 2520- . การพัฒารูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริง จากการเรียนอิเล็กทรอนิส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|