ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา : การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ |
นักวิจัย | : | สิทธิพันธ์ ยศยอดยิ่ง, 2524- |
คำค้น | : | การตัดสินใจแบบพหุเกณฑ์ , สถาบันอุดมศึกษา--การสอบคัดเลือก , บัณฑิตศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อวยพร เรืองตระกูล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745313939 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/532 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษากับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษาที่ตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา จำนวน 423 คน ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความสัมพันธ์และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ ด้วยโปรแกรม SPSS for Window version 11 และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.54 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ตัวบ่งชี้ภูมิหลังของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษาทุกตัวมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยอายุมีค่าความสัมพันธ์ค่อนข้างสูงกับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.609 สำหรับประสบการณ์ในการทำงาน สถานภาพสมรสของนิสิต ระยะทางจากบ้านถึงมหาวิทยาลัย สถานภาพสมรสของผู้ปกครองจำนวนบุตรของผู้ปกครอง และเพศ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยในระดับค่อนข้างต่ำ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.394 0.371 0.357 0.353 0.331 และ 0.218 ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่สามารถทำนายการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา เมื่อพิจารณาตามฟังก์ชั่นการจำแนกกลุ่มพหุ 3 ฟังก์ชั่น พบว่า ฟังก์ชั่น 1 ซึ่งจำแนกนิสิตเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) กลุ่มนิสิตที่ตัดสินใจเลือกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 1) กลุ่มนิสิตที่ตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏ ปัจจัยที่สามารถทำนายการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยได้ดีที่สุด 3 อันดับแรก คือ ปัจจัยด้านคุณภาพของมหาวิทยาลัย ด้านอิทธิพลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย และด้านหลักสูตรมหาวิทยาลัย โดยปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย สามารถทำนายการตัดสินใจได้น้อยที่สุด สำหรับฟังก์ชั่นที่ 2 ซึ่งจำแนกนิสิตเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) กลุ่มนิสิตที่ตัดสินใจเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 2) กลุ่มนิสิตที่ตัดสินใจเลือกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และมหาวิทยาลัยราชภัฎ ปัจจัยที่สามารถทำนายการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยได้ดีที่สุด 3 อันดับแรก คือ ปัจจัยด้านอิทธิพลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย และด้านหลักสูตรของมหาวิทยาลัย โดยปัจจัยด้านค่าธรรมเนียมและแหล่งเงินทุนของมหาวิทยาลัย สามารถทำนายการตัดสินใจได้น้อยที่สุด และฟังก์ชั่นที่ 3 ซึ่งจำแนกนิสิตเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) กลุ่มนิสิตที่ตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 2) กลุ่มนิสิตที่ตัดสินใจเลือกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยราชภัฎ ปัจจัยที่สามารถทำนายการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยได้ดีที่สุด 3 อันดับแรก คือ ปัจจัยด้านความสามารถส่วนบุคคล ด้านหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และด้านค่าธรรมเนียมและแหล่งเงินทุนของมหาวิทยาลัย โดยปัจจัยด้านความคาดหวังของนิสิตและผู้ปกครองที่มีต่อมหาวิทยาลัย สามารถทำนายการตัดสินใจได้น้อยที่สุด 3) ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษาที่ตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยต่างกัน เมื่อพิจารณาจาก 3 ฟังก์ชั้น (รายละเอียดข้อที่ 2) พบว่า ฟังก์ชั่นที่ 1 ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มได้ คือ ปัจจัยด้านคุณภาพของมหาวิทยาลัยและด้านระบบการคัดเลือกนิสิต ฟังก์ชั่นที่ 2 ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มได้ คือ ปัจจัยด้านอิทธิพลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย ด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ด้านความคาดหวังของนิสิตและผู้ปกครองที่มีต่อมหาวิทยาลัยและด้านภูมิหลังของนิสิต สำหรับฟังก์ชั่นที่ 3 ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มได้ คือ ปัจจัยด้านค่าธรรมเนียมและแหล่งเงินทุนของมหาวิทยาลัย ด้านหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และด้านความสามารถส่วนบุคคล โดยสามารถจำแนกกลุ่มของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษาได้ถูกต้องร้อยละ 45.20 |
บรรณานุกรม | : |
สิทธิพันธ์ ยศยอดยิ่ง, 2524- . (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา : การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิทธิพันธ์ ยศยอดยิ่ง, 2524- . 2547. "ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา : การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิทธิพันธ์ ยศยอดยิ่ง, 2524- . "ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา : การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. สิทธิพันธ์ ยศยอดยิ่ง, 2524- . ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา : การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|