ชื่อเรื่อง | : | ผลการสอนวิชาออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ด้วยกระบวนการคิดแยกส่วน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
นักวิจัย | : | ปทุมมา บำเพ็ญทาน, 2521- |
คำค้น | : | การออกแบบอุตสาหกรรม--การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) , ความคิดและการคิด , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745319643 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/525 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอนวิชา ออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ ด้วยกระบวนการคิดแยกส่วนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนิสิตภาควิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ทั้งชายและหญิง รวมทั้งสิ้นจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการสอนในวิชาออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ เรื่องการออกแบบกล้องดิจิตอล จำนวน 3 แผ่น 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งก่อนเรียน และหลังเรียน ด้านเนื้อหาการออกแบบผลิตภัณฑ์ กล้องดิจิตอล และกระบวนการคิดแยกส่วน จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบวัดระดับความเข้าใจการปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนการคิดแยกส่วน ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 1 ฉบับ 4) แบบประเมินผลการปฏิบัติงานออกแบบด้วยกระบวนการคิดแยกส่วน จำนวน 1 ฉบับ 5) แบบประเมินผบงานออกแบบด้วยกระบวนการคิดแยกส่วน จำนวน 1 ฉบับ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS หาค่าสถิติ ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีระดับความเข้าใจการปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนการคิดแยกส่วน ในวิชาออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ ด้วยกระบวนการคิดแยกส่วน ในหัวข้อเรื่องการออกแบบกล้องดิจิตอล โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ผู้เรียนมีความเข้าใจในขั้นตอนการประเมินผลมากที่สุด สำหรับผลการประเมินผลการปฏิบัติงานและผลการประเมินผลงานออกแบบด้วยกระบวนการคิดแยกส่วนของรู้เรียนพบว่าอยู่ในระดับดี โดยเฉพาะการปฏิบัติงานออกแบบด้วยการระดมความคิด และผลงานออกแบบที่มีความสวยงาม เรียบร้อย อยู่ในระดับดีมาก นอกจานนี้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนพบว่า ผู้เรียนมีความเห็นด้วยมากที่สุด ในแง่ การเชื่อมโยงความคิดของการออกแบบสามารถสร้างแนวทางเลือกทางการออกแบบ ข้อเสนอแนะในการวิจัยเพื่อนำกระบวนการคิดแยกส่วนมาใช้ในการสอนออกแบบคือ ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดโจทย์ในการเรียนการสอนออกแบบ |
บรรณานุกรม | : |
ปทุมมา บำเพ็ญทาน, 2521- . (2547). ผลการสอนวิชาออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ด้วยกระบวนการคิดแยกส่วน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปทุมมา บำเพ็ญทาน, 2521- . 2547. "ผลการสอนวิชาออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ด้วยกระบวนการคิดแยกส่วน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปทุมมา บำเพ็ญทาน, 2521- . "ผลการสอนวิชาออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ด้วยกระบวนการคิดแยกส่วน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ปทุมมา บำเพ็ญทาน, 2521- . ผลการสอนวิชาออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ด้วยกระบวนการคิดแยกส่วน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|