ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการทางวิชาการ : การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม |
นักวิจัย | : | สุชีรา มะหิเมือง, 2508- |
คำค้น | : | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน , มูลค่าเพิ่ม , การประเมินผลทางการศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุชาดา บวรกิติวงศ์ , ศิริชัย กาญจนวาสี , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741763468 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/523 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ศึกษาวิธีวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ และพัฒนาการทางวิชาการในช่วง 3 ปีการศึกษา เพื่อศึกษาลักษณะการแจกแจงความถี่ และเปรียบเทียบมูลค่าเพิ่มของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการทางวิชาการ ระหว่างโรงเรียนที่มีความแตกต่างในด้านขนาดและจังหวัดที่ตั้ง และเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัย/ตัวแปรระดับโรงเรียนด้านบริบททั่วไป และสภาพการปฏิบัติงานทางวิชาการของโรงเรียนที่มีต่อมูลค่าเพิ่มฯ กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 123 แห่ง ซึ่งได้รับการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากประชากรโรงเรียนทั่วประเทศ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ข้อมูลการวิจัยประกอบด้วย ข้อมูลทุติยภูมิของคะแนนผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทยและวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งได้จากผลการทดสอบแห่งชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2545 และผลการทดสอบของโครงการประเมินคุณภาพ และวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง ขณะศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวกับภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง บริบททั่วไปของโรงเรียน และการปฏิบัติงานทางวิชาการตามตัวบ่งชี้ 6 ด้านได้จากการสำรวจด้วยแบบสอบถาม สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) การวิเคราะห์โมเดลเชิงเส้นระดับลดหลั่น (HLM) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุ (Lisrel) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการทางวิชาการ ที่ใช้วิธีวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุระดับด้วยโปรแกรม HLM ซึ่งกำหนดให้ตัวแปรภูมิหลังของนักเรียนด้านผลสัมฤทธิ์เดิม เป็นตัวแปรที่ส่งผลเชิงสุ่ม ในขณะที่ควบคุมอิทธิพลจากตัวแปรด้านเศรษฐานะและพื้นฐานทางภาษา เป็นโมเดลที่มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ (R[superscript 2]) 22.10% และ 24.97% ในวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ตามลำดับ 2. การแจกแจงความถี่ของมูลค่าเพิ่มของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ และพัฒนาการทางวิชาการทั้งสองวิชาโดยรวม มีลักษณะเป็นโค้งปกติด้วยค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงหรือเท่ากับ '0' แต่มีความแปรปรวนของมูลค่าเพิ่มของ ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ (ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ) ระหว่างจังหวัดตากกับจังหวัดสระบุรี และของมูลค่าเพิ่มของพัฒนาการทางวิชาการวิชาคณิตศาสตร์ (ระดับนัยสำคัญ 0.01) ระหว่างจังหวัดตากและจัวหวัดระนอง นอกจากนี้โรงเรียนที่มีมูลค่าเพิ่มฯ จัดอยู่ในกลุ่มสูงเป็นโรงเรียนที่มีบริบททั่วไปของโรงเรียนและสภาพปฏิบัติงานทางวิชาการดีกว่ากลุ่มโรงเรียนที่มีมูลค่าเพิ่มฯ ในระดับต่ำ 3. โมเดลเชิงสาเหตุแสดงอิทธิพลของปัจจัย/ตัวแปรระดับโรงเรียนที่มีต่อมูลค่าเพิ่มฯ ซึ่งกำหนดขึ้นตามกรอบความคิดเชิงทฤษโ เป็นโมเดลที่มีความตรงและความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ (ระดับ 0.05) ได้แก่ การปฏิบัติงานทางวิชาการที่ส่งผลเชิงบวกต่อมูลค่าเพิ่มของ ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ และเชิงลบต่อมูลค่าเพิ่มของพัฒนาการทางวิชาการ ทำเลที่ตั้งของโรงเรียนที่ส่งผลเชิงลบต่อมูลค่าเพิ่มของพัฒนาการทางวิชาการคณิตศาสตร์ และการส่งผลเชิงบวกของมูลค่าเพิ่มของค่าเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์ต่อมูลค่าเพิ่มของพัฒนาการทางวิชาการ (ระดับนัยสำคัญ 0.01) |
บรรณานุกรม | : |
สุชีรา มะหิเมือง, 2508- . (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการทางวิชาการ : การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุชีรา มะหิเมือง, 2508- . 2547. "ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการทางวิชาการ : การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุชีรา มะหิเมือง, 2508- . "ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการทางวิชาการ : การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. สุชีรา มะหิเมือง, 2508- . ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการทางวิชาการ : การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|