ชื่อเรื่อง | : | สมรรถภาพที่พึงประสงค์ของอาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
นักวิจัย | : | ณัฏยา เพชรติ่ง, 2520- |
คำค้น | : | เทคโนโลยีสารสนเทศ , อาจารย์มหาวิทยาลัย , สถาบันอุดมศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745313009 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/519 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เกี่ยวกับสมรรถภาพที่จำเป็นต้องมีของอาจารย์ในสาขาสังคมศาสตร์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับความเหมาะสมในการกำหนดสมรรถภาพอาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 3) เพื่อนำเสนอสมรรถภาพอาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ ที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต หรือ ใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ในการเรียนการสอน ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 88 คน ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. อาจารย์สาขาสังคมศาสตร์มีความเห็นว่าความรู้ทางภาษาอังกฤษ โปรแกรม MS Word ความรู้ในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการหาความรู้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและการเห็นประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นสมรรถภาพที่จำเป็นมากที่สุด 2. ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่าสมรรถภาพระดับพื้นฐานประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ 23 รายการ 2) ด้านทักษะปฏิบัติ 27 ข้อ 3) ด้านเจตคติ 12 ข้อ และสมรรถภาพระดับเชี่ยวชาญมีดังนี้ 1) ด้านความรู้ 43 ข้อ 2) ด้านทักษะปฏิบัติ 48 ข้อ 3) ด้านเจตคติ 12 ข้อ 3. สมรรถภาพระดับพื้นฐาน ได้แก่ ความรู้และทักษะทางภาษาไทยในการติดต่อสื่อสารและแสวงหาความรู้ ความรู้ในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกวิธี ทักษะในการใช้สือ Multimedia ทักษะในการใช้คอมพิวเอตณืมาใช้ในการนำเสนอผลงาน/บรรยาย เห็นประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความมั่นใจในการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอน พึงพอใจเมื่อได้ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีความรับผิดชอบต่อข้อมูลที่นำมาใช้รวมทั้งลิขสิทธิ์ต่าง ๆ มีความตระหนักถึงการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีไปในทิศทางที่ถูกต้อง ไม่ขัดต่อหลักศีลโรรมและกฎหมาย สมรรถภาพระดับเชี่ยวชาญที่แตกต่างจากระดับพื้นฐาน ได้แก่ ความรู้และทักษะเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ Windows ความรู้และทักษะเกี่ยวกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ Floppy Disk/CD-ROM ความรู้และทักษะการใช้อุปกรณ์ต่อพ่วง ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการดูแลรักษา การปรับแก้คอมพิวเตอร์ ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม MS Word, MS Wxcel, MS PowerPoint ความรู้และทักษะในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ความรู้และทักษะในการใช้ E-Mail ทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ความรู้และทักษะในการใช้โปรแกรมสนทนาผ่านเครือข่าย ความรู้ในการติดต่อสื่อสารทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ความรู้เกี่ยวกับข่าวสารทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ความรู้ในการประยุกต์เทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ความรู้ในการผลิตหลักสูตรโดยนำ ICT มาใช้ในการเรียนการสอน ทักษะในการเลือกใช้ซอฟต์แวรืได้เหมาะกับการเรียนการสอน ทักษะในการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน ทักษะในการหาความรู้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทักษะในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เข้ากับเนื้อหาวิชาที่สอนได้ เห็นประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต สนใจติดจามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง อย่างสม่ำเสมอ สนในพัฒนาความรู้ ทักษะ ใฝ่รู้ใฝ่เรียนคอมพิวเตอร์ มุ่งมั่นในการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน เคารพกฎเกณฑ์และรับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ พยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ต้องการสร้างสื่อการสอนใหม่ ๆ |
บรรณานุกรม | : |
ณัฏยา เพชรติ่ง, 2520- . (2547). สมรรถภาพที่พึงประสงค์ของอาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฏยา เพชรติ่ง, 2520- . 2547. "สมรรถภาพที่พึงประสงค์ของอาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฏยา เพชรติ่ง, 2520- . "สมรรถภาพที่พึงประสงค์ของอาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ณัฏยา เพชรติ่ง, 2520- . สมรรถภาพที่พึงประสงค์ของอาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|