ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษา |
นักวิจัย | : | พินดา วราสุนันท์, 2522- |
คำค้น | : | สิ่งแวดล้อมศึกษา , การสอน , ครูประถมศึกษา , ลิสเรลโมเดล |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วรรณี แกมเกตุ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745322598 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/497 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและระดับความสามารถในการจัดการเรียนการสอน เมื่อจำแนกตามภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษา และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูประถมศึกษาโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสร้างความเข้มแข็งสิ่งแวดล้อมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 299 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปรคือ ปัจจัยด้านหลักสูตรปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยด้านกลุ่มที่ปฏิบัติงานร่วมกัน ปัจจัยด้านผู้สอน และความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษา โดยมีตัวแปรสังเกตได้ 18 ตัวแปร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนการสอน เมื่อจำแนกตามภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ค่าเฉลี่ยของปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยด้านผู้สอนไม่แตกต่างกัน ค่าเฉลี่ยของปัจจัยด้านกลุ่มที่ปฏิบัติงานร่วมกันและระดับความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษา เมื่อจำแนกตามภูมิภาคของโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษาได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยด้านผู้สอน ประกอบด้วย ความสามารถในการสอนของผู้สอน คุณลักษณะของผู้สอน ทัศนคติต่อรูปแบบการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของผู้สอน และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยด้านกลุ่มที่ปฏิบัติงานร่วมกัน ประกอบด้วย บทบาทของชุมชน บทบาทผู้บริหารและปทัสถานของโรงเรียน โดยส่งผ่านปัจจัยด้านผู้สอน นอกจากนี้ปัจจัยด้านกลุ่มที่ปฏิบัติงานร่วมกันมีอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ นโยบายของโรงเรียน การบริหารงานด้านทรัพยากรวัตถุของโรงเรียน และปทัสถานของโรงเรียน ทั้งนี้ปัจจัยด้านองค์การและปัจจัยด้านผู้สอนมีอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยด้านหลักสูตร 3. โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษาโดยภาพรวมมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 20.82 ที่องศาอิสระเท่ากับ 58 และมีค่าความน่าจะเป็น 1.00 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนมีค่าเท่ากับ .99 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษาได้ร้อยละ 80 |
บรรณานุกรม | : |
พินดา วราสุนันท์, 2522- . (2547). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พินดา วราสุนันท์, 2522- . 2547. "การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พินดา วราสุนันท์, 2522- . "การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. พินดา วราสุนันท์, 2522- . การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|