ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร : การวิเคราะห์อิทธิพลสุ่มกลุ่มเวลาการอยู่รอด |
นักวิจัย | : | รณชิต พฤษกรรม, 2520- |
คำค้น | : | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน , คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) , การวิเคราะห์พหุระดับ , การวิเคราะห์การอยู่รอด |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อวยพร เรืองตระกูล , ลี่ลี ศรีอิงสว่าง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745322946 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/494 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ที่ระดับพัฒนาการการต่างกัน ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ตัวแปรเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตัวแปรความรู้พื้นฐานเดิม และตัวแปรเพศของนักเรียน เมื่อกำหนดเกณฑ์เป็นคะแนนพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น 5% 10% 15% 20% และ 25% ตามลำดับ และเพื่อศึกษาฟังก์ชันการอยู่รอด มัธยฐานระยะเวลาการอยู่รอด และโอกาสที่จะมีพัฒนาการผ่านเกณฑ์สูงสุด ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่รับพัฒนาการต่างกัน เมื่อกำหนดเกณฑ์เป็นคะแนนพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น 5% 10% 15% 20% และ 25% ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 452 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการการวิเคราะห์อิทธิพลผสม กลุ่มเวลาการอยู่รอดด้วยโปรแกรม MIXOR และวิเคราะห์ตารางชีพด้วยโปรแกรม SPSS for window version 11.50 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า เมื่อกำหนดเกณฑ์เป็นคะแนนพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น 5% 10% 15% 20% และ 25% ตามลำดับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีโอกาสที่จะมีพัฒนาการผ่านเกณฑ์สูงสุดในช่วงระยะเวลาที่ 1 1 4 4 4 และ 4 ตามลำดับ โดยมีโอกาสที่จะมีพัฒนาการผ่านเกณฑ์ในแต่ละระดับพัฒนาการเท่ากับ 0.8744 0.6667 0.7333 0.7426 และ 0.7020 ตามลำดับ นักเรียนอยู่รอดได้นานกว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าว เท่ากับ 39.16% 50.00% 15.38% 20.49% และ 25.85% ตามลำดับ แต่ละเกณฑ์คะแนนพัฒนาการมีมัธยฐานระยะเวลาการอยู่รอดเท่ากับ 0.82 1.00 2.42 2.87 และ 3.60 ตามลำดับ ตัวแปรทำนายที่มีอิทธิพลต่อโอกาสที่จะมีพัฒนาการผ่านเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีอิทธิพลต่อโอกาสที่จะมีพัฒนาการผ่านเกณฑ์ทั้ง 5 เกณฑ์ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์มีอิทธิพลต่อโอกาสที่จะมีพัฒนาการผ่านเกณฑ์ คะแนนพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น 10% 15% และ 20% ตามลำดับ ส่วนความรู้พื้นฐานเดิมมีอิทธิพลต่อโอกาสที่จะมีพัฒนาการผ่านเกณฑ์เพียงเกณฑ์เดียวคือ คะแนนพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น 15% |
บรรณานุกรม | : |
รณชิต พฤษกรรม, 2520- . (2547). การศึกษาพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร : การวิเคราะห์อิทธิพลสุ่มกลุ่มเวลาการอยู่รอด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รณชิต พฤษกรรม, 2520- . 2547. "การศึกษาพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร : การวิเคราะห์อิทธิพลสุ่มกลุ่มเวลาการอยู่รอด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รณชิต พฤษกรรม, 2520- . "การศึกษาพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร : การวิเคราะห์อิทธิพลสุ่มกลุ่มเวลาการอยู่รอด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. รณชิต พฤษกรรม, 2520- . การศึกษาพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร : การวิเคราะห์อิทธิพลสุ่มกลุ่มเวลาการอยู่รอด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|