ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยที่ส่งผลต่อคะแนนพัฒนาการวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
นักวิจัย | : | ศุภลักษณ์ ใจแสวงทรัพย์, 2524- |
คำค้น | : | คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) , ลิสเรลโมเดล , การเรียนรู้ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อวยพร เรืองตระกูล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741759002 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/492 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรก เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ประการที่สอง เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมการ โครงสร้างที่สร้างขึ้นระหว่างนักเรียนเพศชายและเพศหญิง และประการที่สาม เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมการโครงสร้างที่สร้างขึ้นระหว่างคะแนนพัฒนาการที่มีการตรวจให้คะแนนแบบทวิวิภาค (dichotomous) และคะแนนพัฒนาการที่มีการให้คะแนนความรู้บางส่วน (partial credit) ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 7 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ 12 ตัวแปร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด กรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 334 คน และครู จำนวน 11 คน ข้อมูลในส่วนของคะแนนพัฒนาการวิชาคณิตศาสตร์เป็นข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ ที่มีการเก็บข้อมูล จากการสอบซ้ำ 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 4 สัปดาห์ โดยใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ด้วยสถิติขั้นสูงโดยการวิเคราะห์เส้นทางและการวิเคราะห์กลุ่มพหุ ด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลปัจจัยที่ส่งผลต่อคะแนนพัฒนาการวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า X[square] = 2.295, df = 5, p = 0.807, GFI = 0.999, AGFI = 0.982 และ RMR = 0.017 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพัฒนาการวิชาคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 58.9 2. ตัวแปรพัฒนาการของการเรียนคณิตศาสตร์ ได้รับอิทธิพลทางตรงจากฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองสูงสุด รองลงมาคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเดิม การศึกษาของครูผู้สอน และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการศึกษาของผู้ปกครองสูงสุด โดยส่งผ่านทางฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ รองลงมา คือ ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง โดยส่งผ่านทางผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเดิม และการศึกษาของครูผู้สอน โดยส่งผ่านทางเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ 3. โมเดลปัจจัยที่ส่งผลต่อคะแนนพัฒนาการวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนเพศชายและเพศหญิง ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 มีความไม่แปรเปลี่ยนในด้านรูปแบบของโมเดล และในด้านพารามิเตอร์ LX LY และ GA 4. โมเดลปัจจัยที่ส่งผลต่อคะแนนพัฒนาการวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้จากการตรวจให้ค่าคะแนนแบบทวิวิภาคและได้จากการตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วน มีความไม่แปรเปลี่ยนในด้านรูปแบบของโมเดลและในด้านพารามิเตอร์ LX LY GA BE และ PS |
บรรณานุกรม | : |
ศุภลักษณ์ ใจแสวงทรัพย์, 2524- . (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคะแนนพัฒนาการวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศุภลักษณ์ ใจแสวงทรัพย์, 2524- . 2547. "ปัจจัยที่ส่งผลต่อคะแนนพัฒนาการวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศุภลักษณ์ ใจแสวงทรัพย์, 2524- . "ปัจจัยที่ส่งผลต่อคะแนนพัฒนาการวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ศุภลักษณ์ ใจแสวงทรัพย์, 2524- . ปัจจัยที่ส่งผลต่อคะแนนพัฒนาการวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|