ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาการรับรองผู้ประเมินภายนอกตามแนวคิดที่เน้นสมรรถภาพสำหรับการประเมินสถานศึกษา |
นักวิจัย | : | เกื้อ กระแสโสม, 2511- |
คำค้น | : | การประกันคุณภาพการศึกษา , สมรรถภาพ , โรงเรียน--การประเมิน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุวิมล ว่องวาณิช , สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745316723 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/491 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดการรับรองผู้ประเมินภายนอกและนำเสนอสมรรถภาพที่จำเป็นของผู้ประเมินภายนอกสำหรับการประเมินสถานศึกษา (2) พัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถภาพผู้ประเมินภายนอกสำหรับใช้ในการรับรองผู้ประเมินภายนอก และ (3) ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นในด้านความตรง ความเที่ยง และกำหนดเกณฑ์ตัดสินสำหรับการรับรอง การวิจัยดำเนินการ 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิเคราะห์สมรรถภาพที่จำเป็นของผู้ประเมินภายนอก โดยวิธีแบบผสมและเก็บข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น ศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 ท่าน วิเคราะห์งานจากเอกสารและกับกลุ่มผู้ประเมินภายนอกที่มีประสบการณ์ตรงในการประเมินสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 18 ท่าน อภิปรายกลุ่มผู้ประเมินภายนอกที่ประสบผลสำเร็จในการประเมินสถานศึกษา จำนวน 25 ท่าน โดยวิธี MACR และสอบถามความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามที่เก็บจากกลุ่มผู้ประเมินภายนอก จำนวน 455 ท่าน ระยะที่ 2เป็นการพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถภาพผู้ประเมินภายนอก และกำหนดเกณฑ์ตัดสินสำหรับการรับรอง โดยทดลองใช้เครื่องมือ 2 ครั้ง กับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 246 ท่าน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.51 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สมรรถภาพที่จำเป็นของผู้ประเมินภายนอกสำหรับการประเมินสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยสมรรถภาพ 3 ด้าน ดังนี้ สมรรถภาพด้านความรู้ (2) ความรู้เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของผู้ประเมินภายนอกและหน่ยงานที่เกี่ยวข้อง (3) ความรู้เกี่ยวกับหลักการ วิธีการประเมินคุณภาพสถานศึกษา สมรรถภาพด้านทักษะ ประกอบด้วย (1) ทักษะการวางแผนการประเมินสถานศึกษา (2) ทักษะการดำเนินการประเมินสถานศึกษา (3) ทักษะการสรุปผลการประเมินและเขียนรายงานการประเมินสถานศึกษา (4) ทักษะการสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์ (5) ทักษะทางการคิดเชิงตรรกะและการคิดวิเคราะห์ (6) ทักษะการทำงานเป็นทีม สมรรถภาพด้านคุณลักษณะประกอบด้วย (1) ความเป็นกัลยาณมิตรในการประเมิน และ (2) จรรยาบรรณในการประเมิน 2. แบบสอบที่พัฒนาขึ้นมีความเที่ยงตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคในสมรรถภาพ 3 ด้าน อยู่ในช่วง 0.672-0.692 ข้อสอบส่วนใหญ่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แบบสอบมีความตรงตามโครงสร้างอยู่ในระดับดี (X[superscript 2] = 5.67, df = 12, P = 0.93, GFI = 0.99, AGFI = 0.95, RMR = 0.01) แบบสอบสมรรถภาพด้านความรู้มีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์กับคะแนนจากแบบสอบวัดความรู้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r[subscript xy] = 0.609) แบบสอบจากจำแนกผู้สอบกลุ่มรอบรู้มากและรอบรู้น้อยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. คะแนนจุดตัดของแบบสอบจากการกำหนดโดยวิธีทฤษฎีการตัดสินใจ ในสมรรถภาพด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านคุณลักษณะ และสมรรถภาพโดยรวมทุกด้าน มีค่าเท่ากับร้อยละ 58, 56, 75 และ 61 ตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
เกื้อ กระแสโสม, 2511- . (2547). การพัฒนาการรับรองผู้ประเมินภายนอกตามแนวคิดที่เน้นสมรรถภาพสำหรับการประเมินสถานศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เกื้อ กระแสโสม, 2511- . 2547. "การพัฒนาการรับรองผู้ประเมินภายนอกตามแนวคิดที่เน้นสมรรถภาพสำหรับการประเมินสถานศึกษา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เกื้อ กระแสโสม, 2511- . "การพัฒนาการรับรองผู้ประเมินภายนอกตามแนวคิดที่เน้นสมรรถภาพสำหรับการประเมินสถานศึกษา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. เกื้อ กระแสโสม, 2511- . การพัฒนาการรับรองผู้ประเมินภายนอกตามแนวคิดที่เน้นสมรรถภาพสำหรับการประเมินสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|