ชื่อเรื่อง | : | คุณสมบัติของตัวประมาณค่าความเข้มของอิทธิพล : การเปรียบเทียบระหว่างทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ |
นักวิจัย | : | ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ, 2524- |
คำค้น | : | ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ , ข้อสอบ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุชาดา บวรกิติวงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745322539 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/489 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ได้แก่ (1) เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของตัวประมาณค่าในด้านความลำเอียง ความคงเส้นคงวา และประสิทธิภาพสัมพัทธ์ระหว่างขนาดอิทธิพลที่ได้จากทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (d[subscript CTT]) ขนาดอิทธิพลที่ได้จากทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบที่โมเดลประมาณค่าสอดคล้องกับข้อมูล (d[subscript IRT1]) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ได้จากทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (r[IRT1) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ได้จากทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบที่โมเดลประมาณค่าไม่สอดคล้องกับข้อมูล (r[subscript IRT2]) (2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่าง d[subscript CTT], d[subscript IRT1] และ d[subscript IRT2] และระหว่าง r[subscript CTT], r[subscript IRT1] และ r[IRT2] (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง d[subscript CTT] และ d[subscript IRT1] และสร้างสมการถดถอยของ d[subscript IRT1] บน d[subscript CTT] และ (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง r[subscript CTT] และ r[subscript IRT1] และสร้างสมการถดถอยของ r[subscript IRT1] บน r[subscript CTT] ภายใต้สถานการณ์การสอบ 540 สถานการณ์ ตามเงื่อนไขของค่าความเข้มของอิทธิพลที่แท้จริง (.2, .5, .8, 1.2, 2.6) ขนาดกลุ่มตัวอย่าง (20, 50, 500, 2,000) ความยาวแบบสอบ (10, 50, 90) โมเดลฐาน (โมเดลโลจิสติกแบบหนึ่ง, สอง และสามพารามิเตอร์) และโมเดลประมาณค่า (โมเดลการทดสอบแบบดั้งเดิม โมเดลการตอบสนองข้อสอบที่สอดคล้องกับข้อมูล และโมเดลการตอบสนองข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับข้อมูล) ผลการวิจัยโดยสรุปพบว่า (1) ในภาพรวมตัวประมาณค่าที่มีความลำเอียงต่ำที่สุดคือ r[subscript IRT1] นอกจากนี้ r[subscript IRT1] ยังเป็นตัวประมาณค่าที่มีคุณสมบัติทุกด้านเป็นที่น่าพอใจที่สุด (2) ค่าเฉลี่ยของ d[subscript CTT], d[subscript IRT1] และ d[subscript IRT2] มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย d[subscript CTT] มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เช่นเดียวกับค่าเฉลี่ยของ r[subscript CTT], r[subscript IRT1] และ r[subscript IRT2] ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย r[subscript CTT] มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (3) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง d[subscript CTT] และ d[subscript IRT1] มีค่า .626 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมการถดถอยของ d[subscript IRT1] บน d[subscript CTT] ในรูปคะแนนดิบ คือ d[subscript IRT1] = .004 + .065d[subscript CTT] สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z[subscript d][subscript IRT1] = .626Z[subscript d][subscript CTT] (4) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง r[subscript CTT] และ r[subscript IRT1] มีค่า .570 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมการถดถอยของ r[subscript IRT1] บน r[subscript CTT] ในรูปคะแนนดิบ คือ r[subscript IRT1] = .003 + .079[subscript r][subscript CTT] และสมการในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z[subscript r][subscript IRT1] = .570Z[subscript r][subscript CTT] |
บรรณานุกรม | : |
ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ, 2524- . (2547). คุณสมบัติของตัวประมาณค่าความเข้มของอิทธิพล : การเปรียบเทียบระหว่างทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ, 2524- . 2547. "คุณสมบัติของตัวประมาณค่าความเข้มของอิทธิพล : การเปรียบเทียบระหว่างทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ, 2524- . "คุณสมบัติของตัวประมาณค่าความเข้มของอิทธิพล : การเปรียบเทียบระหว่างทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ, 2524- . คุณสมบัติของตัวประมาณค่าความเข้มของอิทธิพล : การเปรียบเทียบระหว่างทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|