ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาตัวบ่งชี้บทบาทครูและนักเรียนในการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นพื้นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
นักวิจัย | : | ตันหยง วิทยานนท์, 2524- |
คำค้น | : | ลิสเรลโมเดล , การเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน , ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วรรณี แกมเกตุ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745320757 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/486 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้บทบาทของครูและนักเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้บทบาทครูและนักเรียนในการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นพื้นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวคิดทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวจัย คือครูและนักเรียนในโรงเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน (วพร.) จำนวน 190 คน และ 308 คน ตามลำดับ ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย คือ บทบาทครูและนักเรียนในการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS 13.00 ในการวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงบรรยาย และใช้โปรแกรม LISREL 8.53 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลตัวบ่งชี้บทบาทครูในการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X[square] = 13.15 p = 0.99, GFI = 0.990, AGFI = 0.969) น้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ย่อยทั้ง 14 ตัว มีค่าเป็นบวก ขนาดตั้งแต่ 0.81 - 1.00 ซึ่งถือว่ามีขนาดใกล้เคียงกัน โดยตัวบ่งชี้ที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูง คือ การจัดทำแผนการสอนการจัดสถานการณ์ การแนะนำแหล่งข้อมูล การอภิปรายร่วมกับนักเรียน การประเมินทักษะการวิจัยของนักเรียนและการนำผลการประเมินไปพัฒนา ค่าน้ำหนักองค์ประกอบตัวบ่งชี้บทบาทครูในขั้นการเรียนการสอนทั้ง 6 ขั้นมีค่าเป็นบวกขนาดตั้ง 0.82-1.00 ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกัน ตัวบ่งชี้ที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูง คือตัวบ่งชี้บทบาทครูในขั้นสอนตัวบ่งชี้บทบาทครูในขั้นสรุป และตัวบ่งชี้บทบาทครูในขั้นประเมิน โดยตัวบ่งชี้ในแต่ละขั้นดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนในโมเดลตัวบ่งชี้บทบาทครูในการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานได้ ร้อยละ 97, 97 และ 95 ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลตัวบ่งชี้บทบาทนักเรียนในการเรียนการสอน โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X[square] = 6.93 p = 0.995, GFI = 0.996, AGFI = 0.987) น้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ย่อยทั้ง 10 ตัว มีค่าเป็นบวกขนาดตั้งแต่ 0.82-1.00 โดยตัวบ่งชี้ที่มีค่าน้ำหนักสูงคือ การระบุประเด็นวิจัย การสืบค้นข้อมูล การอภิปรายผลการวิจัย การประเมินการนำเสนอผลการวิจัย การแก้ไขจุดบกพร่องตามครู ส่วนค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้บทบาทนักเรียนในชั้นการเรียนการสอนทั้ง 5 ขั้นนั้น มีค่าเป็นบวกและมีขนาดตั้งแต่ 0.44-0.56 ซึ่งถือว่ามีขนาดใกล้เคียงกัน โดยตัวบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงคือ ตัวบ่งชี้บทบาทนักเรียนในขั้นปรับปรุง ตัวบ่งชี้บทบาทนักเรียนในขั้นประเมิน และตัวบ่งชี้บทบาทนักเรียนในขั้นสรุป สามารถอธิบายความแปรปรวนในโมเดลตัวบ่งชี้บทบาทนักเรียนในการเรียนการสอนแบบ RBI ได้ร้อยละ 89, 79 และ 85 ตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
ตันหยง วิทยานนท์, 2524- . (2547). การพัฒนาตัวบ่งชี้บทบาทครูและนักเรียนในการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นพื้นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ตันหยง วิทยานนท์, 2524- . 2547. "การพัฒนาตัวบ่งชี้บทบาทครูและนักเรียนในการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นพื้นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ตันหยง วิทยานนท์, 2524- . "การพัฒนาตัวบ่งชี้บทบาทครูและนักเรียนในการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นพื้นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ตันหยง วิทยานนท์, 2524- . การพัฒนาตัวบ่งชี้บทบาทครูและนักเรียนในการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นพื้นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|