ชื่อเรื่อง | : | อำนาจเจ้าพนักงานในการสืบสวนคดีเกี่ยวกับการก่อการร้ายในประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบการบังคับใช้กฎหมาย USA PATRIOT Act ของประเทศสหรัฐอเมริกา |
นักวิจัย | : | เสกสรร อำภาไพ |
คำค้น | : | การก่อการร้าย -- การสืบสวน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ , การสอบสวนคดีอาญา -- ไทย , การบังคับใช้กฎหมาย -- ไทย , การบังคับใช้กฎหมาย -- สหรัฐอเมริกา , การศึกษาเปรียบเทียบ , Terrorism -- Investigations -- Law and legislation , Criminal investigation -- Thailand , Law enforcement -- Thailand , Law enforcement -- United States , Comparative education |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ปารีณา ศรีวนิชย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35434 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 จากการศึกษาพบว่า ในการสืบสวนคดีเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน อำนาจในการออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และอำนาจในการออกคำสั่งตรวจสอบการสื่อสารตลอดจนยับยั้งการติดต่อสื่อสารเพื่อป้องกันหรือระงับเหตุร้ายแรง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบในด้านการรักษาสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามหลักนิติธรรม (Due Process) เมื่อศึกษาอำนาจเจ้าพนักงานในการสืบสวนคดีเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามกฎหมาย USA PATRIOT Act ของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า แม้จะมีการให้อำนาจเจ้าพนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจของสำนักงานสืบสวนกลาง (Federal Bureau of Investigation-FBI) เช่นเดียวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 แต่ก็ได้รับการต่อต้านจากหลายฝ่ายโดยเห็นว่าอำนาจดังกล่าวกระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และขัดต่อรัฐธรรมนูญ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอแนวคิดว่า ควรยกเลิกอำนาจของเจ้าพนักงานตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ดังกล่าว แล้วบังคับใช้กฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานในการสืบสวนคดีอาญาที่มีอยู่แล้วอย่างเคร่งครัด ย่อมจะกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนน้อยกว่าและสามารถสืบสวนคดีเกี่ยวกับการก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพแทน |
บรรณานุกรม | : |
เสกสรร อำภาไพ . (2551). อำนาจเจ้าพนักงานในการสืบสวนคดีเกี่ยวกับการก่อการร้ายในประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบการบังคับใช้กฎหมาย USA PATRIOT Act ของประเทศสหรัฐอเมริกา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เสกสรร อำภาไพ . 2551. "อำนาจเจ้าพนักงานในการสืบสวนคดีเกี่ยวกับการก่อการร้ายในประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบการบังคับใช้กฎหมาย USA PATRIOT Act ของประเทศสหรัฐอเมริกา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เสกสรร อำภาไพ . "อำนาจเจ้าพนักงานในการสืบสวนคดีเกี่ยวกับการก่อการร้ายในประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบการบังคับใช้กฎหมาย USA PATRIOT Act ของประเทศสหรัฐอเมริกา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. Print. เสกสรร อำภาไพ . อำนาจเจ้าพนักงานในการสืบสวนคดีเกี่ยวกับการก่อการร้ายในประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบการบังคับใช้กฎหมาย USA PATRIOT Act ของประเทศสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
|