ชื่อเรื่อง | : | เปรียบเทียบประสิทธิผลของค่าสัมประสิทธิ์ในกระจกและแผงบังแดด |
นักวิจัย | : | จิรเดช เทพพิพิธ |
คำค้น | : | สถาปัตยกรรมกับการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ , อาคาร -- การระบายอากาศ -- การควบคุม , สถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน , Architecture and solar radiation , Building -- Heating and ventilation -- Control , Sustainable architecture |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธนิต จินดาวณิค , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2555 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33158 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการศึกษาและเปรียบเทียบแนวทางการออกแบบวัสดุประกอบช่องเปิดเพื่อลดการถ่ายเทความร้อนผ่านช่องเปิดอาคาร ระหว่างการใช้กระจกกันความร้อนและการติดตั้งอุปกรณ์บังแดด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อหาประสิทธิผลของค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนจากรังสีอาทิตย์ของกระจก (SHGC) และค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดด (SC) ที่ปรากฏอยู่ในสมการหาค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังอาคาร (OTTV) ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุม โดยทำการทดลองด้วยห้องทดลองด้านพลังงาน (mockup energy testing) ขนาด 3.00x3.00 เมตร เพื่อวัดอัตราการใช้พลังงานในการปรับอากาศที่เกิดขึ้นจริงในสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย พร้อมทั้งทำการจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer simulation) เพื่อหาผลกระทบของทิศทางช่องเปิดอาคารที่มีผลต่ออัตราการใช้พลังงานในการปรับอากาศในอาคาร การศึกษามีทั้งหมด 3 กรณีศึกษา โดยกำหนดค่าของสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนจากรังสีอาทิตย์ของกระจก (SHGC) และค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดด (SC) ที่แตกต่างกัน แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองทั้ง 2 แบบมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปของการวิจัย จากผลการทดลองพบว่าประสิทธิผลการประหยัดพลังงานในการปรับอากาศของอาคารที่ใช้ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนจากรังสีอาทิตย์ของกระจก (SHGC) ดีกว่าอาคารที่ใช้ค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดของแผงบังแดด (SC) ในทุกกรณีศึกษา โดยมีแนวโน้มของความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 ค่าสัมประสิทธิ์มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเลือกใช้กระจกคุณภาพดีและอุปกรณ์บังแดดที่มีค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดดีขึ้น (ค่า SHGC และ SC ต่ำลง) ในขณะที่ผลกระทบต่อสภาวะน่าสบายของมนุษย์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาคารที่ใช้ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนจากรังสีอาทิตย์ของกระจก (SHGC) ทำได้ดีกว่าในทุกกรณีศึกษา แต่ในทางกลับกันอาคารที่ติดตั้งอุปกรณ์บังแดด จะมีความสามารถในการนำแสงสว่างจากธรรมชาติเข้ามาใช้ในตัวอาคารได้ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด |
บรรณานุกรม | : |
จิรเดช เทพพิพิธ . (2555). เปรียบเทียบประสิทธิผลของค่าสัมประสิทธิ์ในกระจกและแผงบังแดด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิรเดช เทพพิพิธ . 2555. "เปรียบเทียบประสิทธิผลของค่าสัมประสิทธิ์ในกระจกและแผงบังแดด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิรเดช เทพพิพิธ . "เปรียบเทียบประสิทธิผลของค่าสัมประสิทธิ์ในกระจกและแผงบังแดด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555. Print. จิรเดช เทพพิพิธ . เปรียบเทียบประสิทธิผลของค่าสัมประสิทธิ์ในกระจกและแผงบังแดด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
|