ชื่อเรื่อง | : | การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศและพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลงสำหรับเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเด็กเพื่อเตรียมเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 |
นักวิจัย | : | บุศรินทร์ สิริปัญญาธร |
คำค้น | : | ทักษะทางสังคม -- การศึกษาและการสอน , ทักษะทางสังคมในเด็ก , การวางแผนหลักสูตร , Social skills -- Study and teaching , Social skills in children , Curriculum planning |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สำลี ทองธิว , ปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์ |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32542 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของหลักสูตรตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศ และพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลง การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่1 การพัฒนาหลักสูตรโดยการศึกษาข้อมูลพื้นฐานบริบทของโรงเรียนประถมศึกษา 6 โรงเรียน ในจังหวัดราชบุรีที่เกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ความสัมพันธ์ของคนในสังคมจังหวัดราชบุรี โดยเฉพาะกลุ่มครู ผู้ปกครองและกลุ่มเด็กอนุบาล เพื่อใช้ในการร่างหลักสูตรตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศและพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลง สำหรับเสริมสร้างทักษะทางสังคมที่จำเป็นของเด็กเตรียมเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่1 ระยะที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตรโดยใช้รูปแบบการวิจัย A-B-A design กับเด็กที่จบชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนอนุบาลราชบุรี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 10 คน เป็นระยะเวลา 15 สัปดาห์ แล้วนำมาประเมินผลปรับปรุงหลักสูตรให้มีความสมบูรณ์บนฐานข้อมูลที่ได้จากการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตและประเมินผลทักษะทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated-measures ANOVA) ทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอร์โรนี (Bonferroni) การนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณในรูปแบบของตาราง กราฟ และการบรรยายเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศและพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลง สำหรับเสริมสร้างทักษะทางสังคม โดยมีแนวการจัดประสบการณ์ที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างเด็กกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เพื่อน ครู และผู้ปกครอง องค์ประกอบของหลักสูตรประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย มาตรฐานการเรียนรู้ สาระสำคัญ ระยะเวลาการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ และการวัดและประเมินผล โดยมีสาระสำคัญ 3 สาระ ได้แก่ เรื่องความร่วมมือ เรื่องการควบคุมตนเอง และเรื่องการรักษาสิทธิ์ หัวข้อเรื่อง 9 เรื่อง ระยะเวลา 9 สัปดาห์ๆ ละ 4 วัน การจัดประสบการณ์ตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศและพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับครู 2) ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับเพื่อน 3) ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง 2. หลักสูตรตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศและพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลงเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพ เนื่องจากการทดลองใช้หลักสูตรแล้ว พบว่า 1) เด็กเตรียมเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่1 มีทักษะทางสังคมด้านความร่วมมือ การควบคุมตนเอง และการรักษาสิทธิ์ สูงกว่าก่อนใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) เด็กเตรียมเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่1 มีแนวโน้มของทักษะทางสังคมทั้ง 3 ด้าน สูงขึ้นในระยะทดลอง แต่มีแนวโน้มของทักษะทางสังคมทั้ง 3 ด้าน ลดลงในระยะติดตามผล |
บรรณานุกรม | : |
บุศรินทร์ สิริปัญญาธร . (2553). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศและพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลงสำหรับเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเด็กเพื่อเตรียมเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุศรินทร์ สิริปัญญาธร . 2553. "การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศและพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลงสำหรับเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเด็กเพื่อเตรียมเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุศรินทร์ สิริปัญญาธร . "การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศและพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลงสำหรับเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเด็กเพื่อเตรียมเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. Print. บุศรินทร์ สิริปัญญาธร . การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรตามรูปแบบวิธีเชิงนิเวศและพลวัตรในระยะเปลี่ยนแปลงสำหรับเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเด็กเพื่อเตรียมเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
|