ชื่อเรื่อง | : | ผลของการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่มีต่อการพัฒนาความรู้และกระบวนการทำงานของครูประถมศึกษา : การผสมวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ |
นักวิจัย | : | ส่งสุข ไพละออ |
คำค้น | : | การเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง , ครูประถมศึกษา , วิจัยปฏิบัติการ , ครู--ภาระงาน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วรรณี แกมเกตุ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745318191 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/448 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและเปรียบเทียบสภาพความรู้ และกระบวนการทำงานของครูที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนต่างกัน และศึกษาผลการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่มีต่อการพัฒนาความรู้และกระบวนการทำงานของครู ในสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และศึกษารายกรณี 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน และกระบวนการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และแบบวัดความรู้ในเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ลักษณะของผู้เรียน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และความรู้เกี่ยวกับการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงปริมาณ โดยการส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์ และเก็บรวบรวมด้วยตนเอง ในเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ และการศึกษาเอกสาร สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้สถิติภาคบรรยาย ด้วยวิธีการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสูด ค่าสูงสุด ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ครูส่วนใหญ่มีความรู้ในแต่ละด้านค่อนข้างต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโดยครูมีความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสูงกว่าด้านอื่นส่วนกระบวนการทำงาน และกระบวนการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูมีระดับการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยกระบวนการทำงานในชั้นการวางแผนการดำเนินงาน และกระบวนการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนในขั้นการวางแผนแก้ปัญหาครูมีระดับการปฏิบัติการกว่าขั้นอื่น 2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ และกระบวนการทำงานของครูที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนต่างกัน พบว่า 2.1 ครูที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมากมีความรู้ในภาพรวม และความรู้ในแต่ละด้านสูงกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ครูที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมากมีระดับการปฏิบัติในกระบวนการทำงานและกระบวนการทำวิจัยปฏิบัติการชั้นเรียนในภาพรวม และในแต่ละขั้นตอนสูงกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.การทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูทำให้เกิดกระบวนการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่มีระบบมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ครูเกิดการสร้างลักษณะนิสัยการทำงานอย่างมีระบบ อันก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาความรู้ของครูทั้ง 5 ด้าน |
บรรณานุกรม | : |
ส่งสุข ไพละออ . (2547). ผลของการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่มีต่อการพัฒนาความรู้และกระบวนการทำงานของครูประถมศึกษา : การผสมวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ส่งสุข ไพละออ . 2547. "ผลของการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่มีต่อการพัฒนาความรู้และกระบวนการทำงานของครูประถมศึกษา : การผสมวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ส่งสุข ไพละออ . "ผลของการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่มีต่อการพัฒนาความรู้และกระบวนการทำงานของครูประถมศึกษา : การผสมวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ส่งสุข ไพละออ . ผลของการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่มีต่อการพัฒนาความรู้และกระบวนการทำงานของครูประถมศึกษา : การผสมวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|