ชื่อเรื่อง | : | แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 |
นักวิจัย | : | ปิยาภรณ์ วัดสว่าง |
คำค้น | : | การประเมินผลทางการศึกษา , กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี--การประเมินผล , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศิริชัย กาญจนวาสี , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741761546 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/425 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กำหนดจุดมุ่งหมายของแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) ร่างแนวปฏิบัติฯ และคู่มือการใช้ 3) สร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดระดับและพัฒนาการเรียนรู้ 4) ทดลองใช้แนวปฏิบัติฯ 5) ประเมิน คุณภาพแนวปฏิบัติฯ 6) ปรับปรุงแนวปฏิบัติฯ ผลที่ได้จากการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1. แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามแนวคิดของ ศิริชัย กาญจนวาสี (2543) ซึ่งประกอบด้วย 1) ช่วงเวลาของการประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอน ทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน ในทุกหน่วยการเรียนรู้ โดยยึดเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ 2)สาระของการประเมินต้องครอบคลุมสาระและพัฒนาการของการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้/ทักษะ, ด้านวิธีการแสวงหาความรู้/ทักษะ และด้านคุณธรรม และ 3) เกณฑ์การประเมินโดยอิงตนเอง ใช้วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการ (ศิริชัย กาญจนวาสี, 2532) 2. เครื่องมือวัดระดับและพัฒนาการเรียนรู้ 4 ฉบับ คือ 1) แบบสอบความรู้/วิธีการแสวงหาความรู้ 2) แบบสอบทักษะการปฏิบัติงาน 3) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน และ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมด้าน คุณธรรมอันพึงประสงค์ ผู้วิจัยได้นำแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ไปทดลองใช้และได้เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนกลับจากครูผู้ทดลองใช้แนวปฏิบัติฯ มีผลการประเมินคุณภาพดังนี้ 1) ด้านคู่มือการใช้ พบว่า คู่มือการใช้เขียนอธิบายวัตถุประสงค์ของแนวปฏิบัติฯ, วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน, การคำนวณคะแนน, การกรอกคะแนนลงแบบฟอร์มต่างๆ ได้ชัดเจนภาษาที่ใช้ เข้าใจง่าย และผู้ใช้สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง 2) ด้านการนำไปใช้ พบว่า วิธีการและแบบฟอร์มต่างๆ ในการวัดและประเมินผลตามแนวปฏิบัติฯ สามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก และได้รับผลตอบรับจากนักเรียนเป็นอย่างดี 3) ด้านประโยชน์ พบว่า ผู้ทดลองใช้ได้รับประโยชน์จากแนวปฏิบัติฯ เป็นอย่างมาก 4) ด้านประสิทธิภาพ พบว่า การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติฯ ช่วยให้ครูผู้สอนทราบถึงระดับและพัฒนาการของนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างละเอียด |
บรรณานุกรม | : |
ปิยาภรณ์ วัดสว่าง . (2547). แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปิยาภรณ์ วัดสว่าง . 2547. "แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปิยาภรณ์ วัดสว่าง . "แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ปิยาภรณ์ วัดสว่าง . แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|