ชื่อเรื่อง | : | โมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มเป็นตัวแปรส่งผ่าน : การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ |
นักวิจัย | : | ปวีณา คำพุกกะ |
คำค้น | : | นักศึกษา -- ทีมงาน , ผู้นำ , ความฉลาดทางอารมณ์ , Students -- Teamwork , Leadership , Emotional intelligence |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา , สุวิมล ว่องวาณิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32175 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มในฐานะเป็นตัวแปรส่งผ่านในการศึกษาอิทธิพลของความฉลาดทางอารมณ์ของหัวหน้าชมรมที่มีต่อประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษา 2) ศึกษาความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มเป็นตัวแปรแฝง 1 ตัวแปร 3) ศึกษาความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มเป็นตัวแปรแฝง 2 ตัวแปร และ 4) เปรียบเทียบความตรงระหว่างโมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มเป็นตัวแปรส่งผ่าน 2 โมเดลข้างต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ ชมรมนิสิตนักศึกษา จำนวน 205 ชมรม แต่ละชมรม ประกอบด้วย หัวหน้าชมรม 1 คนและสมาชิกชมรม 3-5 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็นทั้งสิ้น 1,222 คน จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ชุด สำหรับหัวหน้าชมรมและสมาชิกชมรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ด้วยโปรแกรม SPSS 11.5 การวิเคราะห์ตรวจสอบความตรงของโมเดลตามสมมติฐานวิจัยด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มเป็นตัวแปรส่งผ่านของความฉลาดทางอารมณ์ของหัวหน้าชมรมที่มีต่อประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษา (X² = 53.63, df = 63, p = 0.7939, GFI = 0.96, AGFI = 0.94, RMSEA = 0.0000, RMR = 0.0120 และ X²/df = 0.8513) 2) โมเดลเชิงสาเหตุตามสมมติฐานของประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มเป็นตัวแปรแฝง 1 ตัวแปรมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X² = 53.63, df = 63, p = 0.7939, GFI = 0.96, AGFI = 0.94, RMSEA = 0.0000, RMR = 0.0120 และ X²/df = 0.8513) 3) โมเดลเชิงสาเหตุตามสมมติฐานของประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มเป็นตัวแปรแฝง 2 ตัวแปรมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X² = 49.31, df = 60, p = 0.8361, GFI = 0.97, AGFI = 0.94, RMSEA = 0.0000, RMR = 0.0120 และ X²/df = 0.8218) และ 4) โมเดลประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ของชมรมเป็นตัวแปรแฝง 2 ตัวแปร (X²/df = 0.82) มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีกว่าโมเดลประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ของชมรมเป็นตัวแปรแฝง 1 ตัวแปร (X²/df = 0.85) |
บรรณานุกรม | : |
ปวีณา คำพุกกะ . (2553). โมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มเป็นตัวแปรส่งผ่าน : การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปวีณา คำพุกกะ . 2553. "โมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มเป็นตัวแปรส่งผ่าน : การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปวีณา คำพุกกะ . "โมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มเป็นตัวแปรส่งผ่าน : การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. Print. ปวีณา คำพุกกะ . โมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มเป็นตัวแปรส่งผ่าน : การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
|