ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาโปรแกรมการสอนโดยใช้โครงการ เพื่อส่งเสริมความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี |
นักวิจัย | : | อรวรรณ ดวงสีใส, 2521- |
คำค้น | : | ศิลปวัฒนธรรม , วัฒนธรรมไทย , การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย--การศึกษาและการสอน , นักเรียนประถมศึกษา , คูบัว (ราชบุรี) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วรสุดา บุญยไวโรจน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741758561 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/410 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมการสอนโดยใช้โครงการ เพื่อส่งเสริมความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ชั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การสร้างโปรแกรมการสอนโดยใช้โครงการ เพื่อส่งเสริมความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของนักเรียนในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ขั้นที่ 3 การทดลองใช้โปรแกรม ขั้นที่ 4 การปรับปรุงและนำเสนอโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนแคทรายวิทยา จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบความรู้ แบบวัดเจตคติ แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติในการอนุรักษ์ก่อน-หลังเข้าร่วมโปรแกรม แบบบันทึกพฤติกรรมการอนุรักษ์ระหว่างเข้าร่วมโปรแกรม และแบบสอบถามการเข้าร่วมโปรแกรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ระยะเวลาในการทดลองใช้โปรแกรม 12 สัปดาห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลังการทดลองใช้โปรแกรมนักเรียนมีคะแนนความรู้ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลองใช้โปรแกรมนักเรียนมีคะแนนเจตคติในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังการทดลองใช้โปรแกรมนักเรียนมีคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. หลังการทดลองใช้โปรแกรมนักเรียนมีคะแนนความรู้ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน คือ 75% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. หลังการทดลองใช้โปรแกรมนักเรียนมีคะแนนเจตคติในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน คือ 80% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. หลังการทดลองใช้โปรแกรมนักเรียนมีคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน คือ 80% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในการเข้าร่วมโปรแกรมในด้านความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ด้านความเหมาะสมของการจัดกิจกรรม สถานที่ และระยะเวลา และประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโปรแกรมทุกด้านอยู่ในระดับค่อนข้างมาก |
บรรณานุกรม | : |
อรวรรณ ดวงสีใส, 2521- . (2546). การพัฒนาโปรแกรมการสอนโดยใช้โครงการ เพื่อส่งเสริมความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อรวรรณ ดวงสีใส, 2521- . 2546. "การพัฒนาโปรแกรมการสอนโดยใช้โครงการ เพื่อส่งเสริมความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อรวรรณ ดวงสีใส, 2521- . "การพัฒนาโปรแกรมการสอนโดยใช้โครงการ เพื่อส่งเสริมความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. อรวรรณ ดวงสีใส, 2521- . การพัฒนาโปรแกรมการสอนโดยใช้โครงการ เพื่อส่งเสริมความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|