ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์ลักษณะการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา |
นักวิจัย | : | อัญชลี ทองคำ, 2515- |
คำค้น | : | การเรียนรู้ , ตำรวจตระเวนชายแดน , การพัฒนาชุมชน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | รัตนา พุ่มไพศาล , สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741754124 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/403 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชน 2) วิเคราะห์เส้นทางการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชน 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชน วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้วิธีการศึกษาแบบพหุกรณีศึกษา ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการทำสนทนากลุ่ม จากกรณีศึกษา 6 คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาการลดทอนข้อมูล และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชนมีทั้งหมด 7 ลักษณะ ได้แก่ 1) การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานตามคำสั่ง 2) การเรียนรู้จากนายโดยนายเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ 3) การเรียนรู้จากการอ่านการค้นคว้าด้วยตนเอง 4) การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมงาน 5) การเรียนรู้จากชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น 6) การเรียนรู้จากการแก้ปัญหา 7) การเรียนรู้จากประสบการณ์ ส่วนเส้นทางการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชนแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ตั้งแต่ 1-3 ปีของการทำงาน ซึ่งเรียกว่าช่วงพร้อมรับปรับปรุง มีลักษณะการเรียนรู้ 4 ลักษณะคือ 1) การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานตามคำสั่ง 2) การเรียนรู้จากนายโดยนายเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ 3) การเรียนรู้จากการอ่านการค้นคว้าด้วยตนเอง 4) การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมงาน ส่วนช่วงที่ 2 ตั้งแต่ 4-6 ปี ของการทำงาน ซึ่งเรียกว่าช่วงมุ่งมั่นฟันฝ่า มีลักษณะการเรียนรู้ 5 ลักษณะ โดยที่ 4 ลักษณะแรกยังคงเหมือนกับช่วงที่ 1 แล้วเพิ่มลักษณะที่ 5 เข้ามาคือ การเรียนรู้จากชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับช่วงที่ 3 ตั้งแต่ 7-9 ปีของการทำงาน ซึ่งเรียกว่าช่วงเกิดการพัฒนา มีลักษณะการเรียนรู้ 6 ลักษณะ โดยที่ 5 ลักษณะแรกยังคงเหมือนกับช่วงที่ 2 แล้วเพิ่มลักษณะที่ 6 เข้ามาคือ การเรียนรู้จากการแก้ปัญหา และช่วงที่ 4 คือ 10 ปีขึ้นไป จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ซึ่งเรียกว่าช่วงสู่มืออาชีพ มีลักษณะการเรียนรู้ทั้งหมด 7 ลักษณะ โดยที่ 6 ลักษณะแรกยังคงเหมือนกับช่วงที่ 3 แล้วเพิ่มลักษณะที่ 7 เข้ามาคือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ ส่วนแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชน นั้น แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 คือ แนวทางที่เกิดขึ้นภายในตนเองเพื่อเสริมสร้างความใฝ่เรียนใฝ่รู้ และความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองในทุกๆ ด้าน ส่วนแนวทางที่ 2 คือ แนวทางที่เกิดจากภายนอกคือหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมด้วยกิจกรรมการจัดอบรม การจัดทัศนศึกษา และการสร้างขวัญและกำลังใจ |
บรรณานุกรม | : |
อัญชลี ทองคำ, 2515- . (2546). การวิเคราะห์ลักษณะการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัญชลี ทองคำ, 2515- . 2546. "การวิเคราะห์ลักษณะการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัญชลี ทองคำ, 2515- . "การวิเคราะห์ลักษณะการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. อัญชลี ทองคำ, 2515- . การวิเคราะห์ลักษณะการเรียนรู้ของตำรวจตระเวนชายแดนในบทบาทการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|