ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน และสมรรถภาพการวิจัยระหว่างครูนักวิจัย ที่มีตำแหน่งทางวิชาการและความต่อเนื่องทางการทำวิจัยแตกต่างกัน |
นักวิจัย | : | ธีรวัฒน์ ฆะราช, 2518- |
คำค้น | : | การศึกษา--วิจัย , การจัดการชั้นเรียน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เพียงใจ ศุขโรจน์ , สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741757816 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/394 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้ในการวัดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและสมรรถภาพการวิจัย 2) ศึกษาเปรียบประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนระหว่างครูนักวิจัยที่มีตำแหน่งทางวิชาการและความต่อเนื่องทางการทำวิจัยแตกต่างกัน และ 3) ศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพการวิจัยระหว่างครูนักวิจัยที่มีตำแหน่งทางวิชาการและความต่อเนื่องทางการทำวิจัยแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูนักวิจัยสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสระแก้วจำนวน 309 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนมี 11 ตัว คือ วิธีการสอน การวัดและประเมินผล การจัดบรรยากาศการเรียนการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน วิสัยทัศน์ในการจัดการเรียนการสอน ความสัมพันธ์กับนักเรียนผลที่คาดหวังในตัวผู้เรียน ความรู้ทางวิชาชีพ ความสามารถทางวิชาการ พฤติกรรมการแสดงออก และทัศนคติต่อนักเรียนและวิชาที่สอน 2. ตัวบ่งชี้สมรรถภาพการวิจัยมี 7 ตัว คือ วิธีการสอน ทักษะในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ การวัดและประเมินผล พฤติกรรมการแสดงออก ทักษะในการเก็บรวบรวมข้อมูล จรรยานักวิจัย และทัศนคติต่อการวิจัย 3. กลุ่มครูนักวิจัยที่ทำวิจัยปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนสูงกว่ากลุ่มครู นักวิจัยที่ทำวิจัยปฏิบัติการอย่างไม่ต่อเนื่องในด้านความสามารถทางวิชาการ ความสัมพันธ์กับนักเรียน วิธีการสอน การวัดและประเมินผล การใช้สื่อการเรียนการสอน การจัดบรรยากาศการเรียนการสอน วิสัยทัศน์ในการจัดการเรียนการสอน ความรู้ทางวิชาชีพ และผลที่คาดหวังในผู้เรียนและกลุ่มอาจารย์ 2 ขึ้นไปมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนสูงกว่ากลุ่มอาจารย์ 1 4. กลุ่มครูนักวิจัยที่ทำวิจัยปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องมีสมรรถภาพการวิจัยสูงกว่ากลุ่มครูนักวิจัยที่ทำวิจัยปฏิบัติการอย่างไม่ต่อเนื่องในด้านจรรยานักวิจัย ทักษะในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทักษะในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ ทัศนคติต่อการวิจัย วิธีการสอน และการวัดและประเมินผล และกลุ่มอาจารย์ 1 มีจรรยานักวิจัยและทัศนคติต่อการวิจัยสูงกว่ากลุ่มอาจารย์ 2 ขึ้นไป 5. ผลการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและสมรรถภาพการวิจัยพบว่า ความต่อเนื่องทางการทำวิจัยส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและสมรรถภาพการวิจัย |
บรรณานุกรม | : |
ธีรวัฒน์ ฆะราช, 2518- . (2546). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน และสมรรถภาพการวิจัยระหว่างครูนักวิจัย ที่มีตำแหน่งทางวิชาการและความต่อเนื่องทางการทำวิจัยแตกต่างกัน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธีรวัฒน์ ฆะราช, 2518- . 2546. "การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน และสมรรถภาพการวิจัยระหว่างครูนักวิจัย ที่มีตำแหน่งทางวิชาการและความต่อเนื่องทางการทำวิจัยแตกต่างกัน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธีรวัฒน์ ฆะราช, 2518- . "การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน และสมรรถภาพการวิจัยระหว่างครูนักวิจัย ที่มีตำแหน่งทางวิชาการและความต่อเนื่องทางการทำวิจัยแตกต่างกัน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ธีรวัฒน์ ฆะราช, 2518- . การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน และสมรรถภาพการวิจัยระหว่างครูนักวิจัย ที่มีตำแหน่งทางวิชาการและความต่อเนื่องทางการทำวิจัยแตกต่างกัน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|