ชื่อเรื่อง | : | การสร้างและพัฒนาแบบสอบความถนัดทางดนตรีไทย |
นักวิจัย | : | ประยุทธ ไทยธานี, 2515- |
คำค้น | : | ดนตรีไทย--แบบทดสอบ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม , ดิเรก ศรีสุโข , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741741189 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/393 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบสอบความถนัดทางดนตรีไทย สำหรับนักเรียนอายุ 10-18 ปี โดยเริ่มจาก 1) ศึกษาองค์ประกอบของความถนัดทางดนตรีไทย จากผู้เชี่ยวชาญทางดนตรีไทย 21 ท่าน โดยประยุกต์ใช้วิธีวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) 2) นำองค์ประกอบทั้งหมดมาสร้างเป็นแบบสอบ 3) นำไปทดสอบกับกลุ่มนักดนตรีไทย นักดนตรีสากล และบุคคลทั่วไป รวม 706 คน เพื่อวิเคราะห์จำแนก (Discriminant Analysis) หาองค์ประกอบที่สามารถจำแนกกลุ่มได้ 4) นำแบบสอบที่ผ่านการ ตรวจสอบแล้วไปทดสอบกับนักเรียนอายุ 10-18 ปี 1,735 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบขั้นตอนจากทั่วประเทศ และ นักเรียนอีกหลายกลุ่ม เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบ และ 5) สร้างปกติวิสัย ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบสอบความถนัดทางดนตรีไทย สำหรับนักเรียนอายุ 10-18 ปี ประกอบด้วยแบบสอบย่อย 12 ชุดตามองค์ประกอบของความถนัดทางดนตรีไทย คือ 1) ความรู้สึกที่มีต่อดนตรีไทย 2) ความสามารถในการจำแนกเสียงสูง-ต่ำ 3) ความสามารถในการจำแนกเสียงสั้น-ยาว 4) ความสามารถในการจำแนกเสียงเบา-ดัง 5) ความ สามารถในการจำแนกคุณลักษณะเฉพาะของเสียง 6) ความสามารถในการจำแนกช่วงเสียง 7) ความสามารถในการจำทำนองเพลง 8) ความสามารถในการจำจังหวะ 9) ความสามารถในการรับรู้ทำนองหลักกับทำนองแปล 10) ความ สามารถในการรับรู้ความกลมกลืนของเพลงไทย 11) ความสามารถในการรับรู้ความไพเราะของเพลงไทย และ 12) ความสามารถในการสังเกตรายละเอียดของวิธีการปฏิบัติดนตรีไทยด้วยสายตา ตามลำดับ ซึ่งจากการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) พบว่าแบบสอบฉบับนี้มุ่งวัดใน 2 มิติคือ มิติที่เป็นองค์ประกอบร่วมของความถนัดทางดนตรีทั่วไป ได้แก่ แบบสอบย่อยชุดที่ 2-8 และ 12 และมิติที่เป็นองค์ประกอบเฉพาะของความถนัดทางดนตรีไทย ได้แก่ แบบสอบย่อยชุดที่ 1 และ 9-11 ซึ่งแบบสอบทั้งหมดบันทึกอยู่ใน CD 2 แผ่น และ VCD 1 แผ่น 2. แบบสอบฉบับนี้ มีความตรงตามเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในช่วง .52-1.00 และผลจากวิธี known group technique พบว่านักเรียนดนตรีไทยมีคะแนนเฉลี่ยความถนัดทางดนตรีไทยในทุกด้านและโดยรวมมากกว่านักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่ามีความตรงตามโครงสร้าง (เชิงจำแนก) นอกจากนี้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความถนัดทางดนตรีไทยรวมทั้งฉบับกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดนตรีไทยของนักเรียนที่เริ่มเรียนดนตรีไทย มีค่าเท่ากับ .926 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่ามีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (เชิงสภาพ) สำหรับค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในของแบบสอบทั้งฉบับมีค่า .9777 ส่วนในแบบสอบย่อยแต่ละชุด มีค่าอยู่ในช่วง .7896-.9385 3. ปกติวิสัยมี 4 กลุ่ม คือ อายุ 10-11 ปี 12 ปี 13-15 ปี และ 16-18 ปี โดยแสดงในตารางซึ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนดิบ (raw score) เปอร์เซนไทล์ (percentile) และคะแนนทีปกติ 9normalized T-score) ที่แปลงมาจากคะแนนดิบ โดยในแต่ละกลุ่มแยกเป็นความถนัดทางดนตรีไทยในแต่ละด้านและโดยรวม |
บรรณานุกรม | : |
ประยุทธ ไทยธานี, 2515- . (2546). การสร้างและพัฒนาแบบสอบความถนัดทางดนตรีไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประยุทธ ไทยธานี, 2515- . 2546. "การสร้างและพัฒนาแบบสอบความถนัดทางดนตรีไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประยุทธ ไทยธานี, 2515- . "การสร้างและพัฒนาแบบสอบความถนัดทางดนตรีไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ประยุทธ ไทยธานี, 2515- . การสร้างและพัฒนาแบบสอบความถนัดทางดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|