ชื่อเรื่อง | : | การเปรียบเทียบค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของสถิติทดสอบเอฟ สถิติทดสอบฟรีดแมน และสถิติทดสอบนอร์มอล-สกอร์ สำหรับแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ |
นักวิจัย | : | สุพัตรา ชะมะบูรณ์, 2523- |
คำค้น | : | การวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อน (คณิตศาสตร์) , สถิติทดสอบ , ความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 , สถิติทดสอบเอฟ , สถิติทดสอบฟรีดแมน , สถิติทดสอบนอร์มอล-สกอร์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุชาดา บวรกิติวงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741752288 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/387 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสถิติทดสอบสำหรับทดสอบความแตกต่างระหว่างอิทธิพลของทรีทเมนต์ในแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ โดยใช้สถิติทดสอบแบบพาราเมตริก คือสถิติทดสอบเอฟ และสถิติทดสอบแบบนอนพาราเมตริก คือสถิติทดสอบฟรีดแมน และสถิติทดสอบนอร์มอล-สกอร์ ซึ่งประกอบด้วยสถิติทดสอบเทอรี่-โฮฟฟ์ดิง นอร์มอล-สกอร์ และสถิติทดสอบแวน เดอ แวร์เดน นอร์มอล-สกอร์ โดยศึกษาค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของสถิติทดสอบทั้ง 4 วิธี เมื่อความคลาดเคลื่อนมีการแจกแจงแบบปกติ และแบบโลจิสติก สำหรับข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ได้จากการจำลองด้วยเทคนิคมอนติคาร์โล กระทำซ้ำ 10,000 ครั้งในแต่ละกรณี ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ของสถิติทดสอบเอฟสามารถควบคุมอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้สูงสุด รองลงมาเป็นสถิติทดสอบนอร์มอล-สกอร์ (สถิติทดสอบเทอรี่-โฮฟฟ์ดิง นอร์มอล-สกอร์ สามารถควบคุมอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ ใกล้เคียงกับสถิติทดสอบแวน เดอ แวร์เดน นอร์มอล-สกอร์) และสถิติทดสอบฟรีดแมน ตามลำดับ แต่เมื่อจำนวนบล็อกเพิ่มขึ้น (BL>4) สถิติทดสอบแบบนอนพาราเมตริกทั้ง 3 วิธีสามารถควบคุมอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ใกล้เคียงกับสถิติทดสอบเอฟ ทั้งในกรณีที่ความคลาดเคลื่อนมีการแจกแจงแบบปกติ และแบบโลจิสติก 2. อำนาจการทดสอบของสถิติทดสอบนอร์มอล-สกอร์ (สถิติทดสอบเทอรี่-โฮฟฟ์ดิง นอร์มอล-สกอร์ มีอำนาจการทดสอบใกล้เคียงกับสถิติทดสอบแวน เดอ แวร์เดน นอร์มอล-สกอร์) มีค่ามากกว่าอำนาจการทดสอบของสถิติทดสอบเอฟ ส่วนสถิติทดสอบฟรีดแมนไม่สามารถควบคุมอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ จึงไม่ได้นำมาทำการเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบ เมื่อขนาดของการทดลองมีขนาดเล็ก (TR=3 และ BL=4) แต่เมื่อจำนวนทรีทเมนต์ และจำนวนบล็อกเพิ่มขึ้น (TR=4,5 และ BL=7,10) สถิติทดสอบเอฟมีอำนาจการทดสอบใกล้เคียงกับสถิติทดสอบแบบนอนพาราเมตริกทั้ง 3 วิธี เมื่อความแตกต่างระหว่างอิทธิพลของทรีทเมนต์มาก และความคลาดเคลื่อนมีการแจกแจงแบบปกติ และแบบโลจิสติก |
บรรณานุกรม | : |
สุพัตรา ชะมะบูรณ์, 2523- . (2546). การเปรียบเทียบค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของสถิติทดสอบเอฟ สถิติทดสอบฟรีดแมน และสถิติทดสอบนอร์มอล-สกอร์ สำหรับแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุพัตรา ชะมะบูรณ์, 2523- . 2546. "การเปรียบเทียบค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของสถิติทดสอบเอฟ สถิติทดสอบฟรีดแมน และสถิติทดสอบนอร์มอล-สกอร์ สำหรับแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุพัตรา ชะมะบูรณ์, 2523- . "การเปรียบเทียบค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของสถิติทดสอบเอฟ สถิติทดสอบฟรีดแมน และสถิติทดสอบนอร์มอล-สกอร์ สำหรับแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. สุพัตรา ชะมะบูรณ์, 2523- . การเปรียบเทียบค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของสถิติทดสอบเอฟ สถิติทดสอบฟรีดแมน และสถิติทดสอบนอร์มอล-สกอร์ สำหรับแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|