ชื่อเรื่อง | : | ผลของรูปแบบข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อพัฒนาการของผลงานด้านทัศนศิลป์: การประยุกต์ใช้ข้อมูลย้อนกลับทั่วไปและข้อมูลชี้แนะเพื่อการปรับปรุง |
นักวิจัย | : | ดาวเรือง ลุมทอง |
คำค้น | : | ทัศนศิลป์ , การประเมินผลงาน , การประเมินผลทางการศึกษา , Art , Job evaluation , Educational evaluation |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | โชติกา ภาษีผล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32226 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างเกณฑ์การประเมินและข้อมูลย้อนกลับสำหรับผลงานศิลปะ ตามแนวคิดข้อมูลย้อนกลับทั่วไปและข้อมูลชี้แนะเพื่อการปรับปรุง 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเกณฑ์การประเมินผลงานและรูปแบบข้อมูลย้อนกลับที่สร้างขึ้น และ 3) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของผลงานศิลปะของผู้เรียนตามรูปแบบข้อมูลย้อนกลับและทักษะด้านศิลปะที่แตกต่างกัน การตรวจสอบคุณภาพกระทำโดยการวิเคราะห์ความตรงตามเนื้อหา ความตรงตามโครงสร้าง ความเที่ยงแบบความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน และความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของผลงานศิลปะ ได้แก่ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 79 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการประเมินผลงานศิลปะ เกณฑ์การประเมินผลงานศิลปะและชุดข้อมูลย้อนกลับ 3 รูปแบบ ได้แก่ ได้แก่ รูปแบบทั่วไป รูปแบบชี้แนะเพื่อการปรับปรุง และรูปแบบผสม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (repeated measures ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ข้อมูลย้อนกลับและเกณฑ์การประเมินผลงานศิลปะประกอบด้วยเกณฑ์การประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านทัศนธาตุ ด้านองค์ประกอบ ด้านทักษะฝีมือ และด้านความคิดริเริ่ม 2) เกณฑ์การประเมินผลงานศิลปะมีคุณภาพด้านความตรงตามโครงสร้างด้วยวิธีการเทียบกับกลุ่มรู้ชัด ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินวิเคราะห์ด้วยค่า Cohen’s kappa มีค่าอยู่ในระดับปานกลางและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในค่อนข้างสูง (r = 0.797) 3) ในภาพรวมผู้เรียนมีพัฒนาการของผลงานศิลปะในระยะที่ 2 สูงกว่าระยะที่ 1 และระยะที่ 3 สูงกว่าระยะที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในระยะที่ 3 ผู้เรียนกลุ่มทักษะสูงที่ได้รับรูปแบบชี้แนะเพื่อการปรับปรุงมีพัฒนาการสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มทักษะสูงที่ได้รับรูปแบบทั่วไปและรูปแบบผสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
บรรณานุกรม | : |
ดาวเรือง ลุมทอง . (2553). ผลของรูปแบบข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อพัฒนาการของผลงานด้านทัศนศิลป์: การประยุกต์ใช้ข้อมูลย้อนกลับทั่วไปและข้อมูลชี้แนะเพื่อการปรับปรุง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดาวเรือง ลุมทอง . 2553. "ผลของรูปแบบข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อพัฒนาการของผลงานด้านทัศนศิลป์: การประยุกต์ใช้ข้อมูลย้อนกลับทั่วไปและข้อมูลชี้แนะเพื่อการปรับปรุง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดาวเรือง ลุมทอง . "ผลของรูปแบบข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อพัฒนาการของผลงานด้านทัศนศิลป์: การประยุกต์ใช้ข้อมูลย้อนกลับทั่วไปและข้อมูลชี้แนะเพื่อการปรับปรุง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. Print. ดาวเรือง ลุมทอง . ผลของรูปแบบข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อพัฒนาการของผลงานด้านทัศนศิลป์: การประยุกต์ใช้ข้อมูลย้อนกลับทั่วไปและข้อมูลชี้แนะเพื่อการปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
|